ข้อความต้นฉบับในหน้า
Dsuem ประชาช
เส้นทางจอมปราชญ์ (๑๐)
๕๓๑
ไม่ได้รักษาชีวิตของสัตว์ไว้ทั้งหมด เพราะบางพวกกินอาหาร
เกินขนาด เตโชธาตุมิอาจเผาผลาญก็แน่นจุกเสียดถึงแก่ความตาย
โภชนาหารจะรักษาชีวิตสัตว์ไม่ได้ มีเหตุอยู่ ๒ ประการ
คือบริโภคอาหารมากเกินขนาด และก็ธาตุไฟหย่อนไม่อาจย่อยได้
โภชนาหารเป็นของเลี้ยงชีวิตสัตว์ แต่เพราะสัตว์ไม่รู้จักบริโภค
ให้พอสมควร และไม่รู้จักผ่อนผันให้เหมาะสมแก่กำลังของตน
จึงกลายเป็นเครื่องขจัดชีวิตของตัวเอง”
จากนั้นพระนาคเสนเถรเจ้า ก็สรุปว่า “มหาบพิตร พระ
ปริตรก็เช่นเดียวกัน จะช่วยไม่ได้ด้วยเหตุ ๓ ประการด้วยกัน คือ
๑.เป็นกัมมาวรณ์ กรรมหนักมาปิดกั้นไว้ ๒.เป็นกิเลสาวรณ์
กิเลสเกิดขึ้นมาในใจ เหมือนพญานกยูง ใจมัวหมองเพราะกาม
ราคะบังเกิดขึ้น ทําให้พระปริตรไม่เกิดอานุภาพ และ ๓.คนที่
สวดพระปริตรเพียงแค่ท่องบ่นด้วยปาก แต่ไม่ได้มีจิตเลื่อมใส
ศรัทธา จิตไม่เป็นเอกัคคตา ไม่หยุดไม่นิ่งพอ
มหาบพิตร พระปริตรนี้เป็นเครื่องป้องกันรักษาบุคคล
ได้จริง แต่เพราะบุคคลมีความผิดติดตัวมาอยู่ จึงไม่สามารถ
รักษาได้ เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตร ทนเหนื่อยยากลำบากกว่า
จะเลี้ยงจนโตได้ แต่พอโตขึ้น ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี ไปทําความผิด
ใหญ่หลวง ถูกลงโทษตามกฎหมาย แม้มารดาจะรักลูกสักปานใด