ข้อความต้นฉบับในหน้า
Bul
ธรรมกาย คื อ ห ลั ก ข อ ง ชีวิต
២០៨
ธรรมจักขุของธรรมกาย ความรู้ก็เกิดขึ้นด้วยญาณของธรรมกาย
รู้ชัดไปตามความเป็นจริงทั้งหมด
เห็นอย่างนี้แหละที่ท่านเรียกว่า “วิปัสสนา” วิ แปลว่า
วิเศษ แปลว่าแจ้ง แปลว่าต่าง ปัสสนา แปลว่าการเห็น
การเห็นทีวิเศษ ที่แจ่มแจ้งแตกต่างจากการเห็นด้วยตามนุษย์
ด้วยตาของกายทิพย์ ด้วยตาของกายพรหม ด้วยตาของกาย-
อรูปพรหม เห็นวิเศษอย่างนี้เรียกว่า วิปัสสนาที่ว่า “ยทา ปญฺญาย
ปสฺสติ” คือเห็นแจ้งด้วยปัญญาบริสุทธิ์ด้วยญาณของธรรมกาย
เห็นอย่างนี้จึงจะเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารร่างกายของเรา
เพราะฉะนั้น วิปัสสนาเริ่มต้นที่ธรรมกาย ไม่ใช่เอา
กายมนุษย์มาพิจารณา เพราะกายมนุษย์ความเห็นยังแคบ เมื่อ
ความเห็นแคบก็ไม่วิเศษ ไม่แจ้ง ไม่ต่าง ต้องเห็นด้วยธรรมจักขุ
เห็นได้ด้วยธรรมกาย และมีญาณหยั่งรู้ด้วยธรรมกาย เห็นว่า
อะไรไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็เห็นไปตามความเป็นจริง
อย่างนั้น และก็ยอมรับ ที่ยอมรับก็เพราะว่ามีเครื่องเปรียบเทียบ
ระหว่างกายต่างๆ กับธรรมกาย วิเศษสู้ธรรมกายไม่ได้เลย
ความเห็นวิเศษอย่างนี้ มีเฉพาะธรรมกายเท่านั้น เมื่อ
เห็นแล้วก็จะละวางจากกายมนุษย์ กายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม
ซึ่งยังตกอยู่ในไตรลักษณ์ที่เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อปลด
ปล่อยวางแล้วก็ยึดอยู่ในธรรมกายนั้นไม่ไปไหนเลย ใจจะติดอยู่