ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชาช
เวสารัชช ธรรม ๔
๔๗๕
ทรงห้าม ถ้าใครขึ้นไปทำก็จะได้รับทุกข์รับโทษจริง จะมีทุกข์
หนักในอบาย คําปฏิญญานี้เรียกว่า อันตรายิกธรรมวาทะ
ประการสุดท้าย พระองค์ทรงปฏิญญาว่า “สารีบุตร เรา
ไม่เห็นเหตุนี้ว่า สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ
ในโลกที่จะทักท้วงเราว่า ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด
ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่คนผู้ทำตาม
หมายความว่า พระองค์ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด
ประโยชน์อย่างนั้น เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดย
ชอบจริงไม่ใช่ยิ่งเพิ่มทุกข์แก่ผู้ปฏิบัติ แต่ยิ่งปฏิบัติตามหลักพุทธวิธี
ผู้ที่มีทุกข์มากก็ทุกข์น้อย มีทุกข์น้อยก็หมดทุกข์ สุขน้อยก็สุขมาก
ที่สุขมากอยู่แล้ว ก็สุขยิ่งๆ ขึ้นไป ใครมีกิเลสมาก ครั้นนำธรรมะ
ของพระองค์ไปปฏิบัติ กิเลสอาสวะก็เบาบางลง หรือแม้ไม่ได้
บรรลุธรรมอะไรในภพชาตินี้ การได้ฟังธรรมหรือได้ปฏิบัติตาม
ที่พระองค์ทรงสอนนั้น ก็จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยติดตัวไปข้ามภพ
ข้ามชาติ คำสอนของบรมศาสดานั้น เป็นไปเพื่อความหลุดพ้น
จากทุกข์อย่างแท้จริง ทรงยืนยันชัดเจนจึงเรียกว่า นิยยานิก
ธรรมเทศนา
คุณธรรมทั้ง ๔ ประการ ที่หลวงพ่อได้นำมาอธิบายนี้
เป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้นได้ยากกับบุคคลทั่วไปในโลก เพราะต้องอาศัย