ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชา
ห น ท า ง สู่ ธรรมกาย
๒๒๓
ความสงบนี้แล้วไม่ไปไหนติดอยู่กับที่ แต่ว่ามีความรู้สึกเป็นสุข
อยู่ภายใน คล้ายกับไม่ติดอะไรเลยในโลก ไม่ติดกิเลสอาสวะ
สังโยชน์เบื้องต่ำเบื้องสูง แล้วก็เหมาเข้าใจผิดว่านั่นคือที่สุดแห่ง
กองทุกข์ การปฏิบัติอย่างนี้มีมาก เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการ
เข้าถึงธรรมกาย
อันที่จริงนิมิตที่ควรยึดไว้นั้นก็มีอยู่ และนิมิตที่ไม่ควรยึดไว้
ก็มี นิมิตใดที่เลื่อนลอยหลุดออกจากศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
ถือเป็นนิมิตเลื่อนลอยไม่ใช่ของจริงทั้งสิ้น แต่สิ่งที่เป็นจริงนั้น
จะเกิดขึ้นที่ศูนย์กลางกายที่เดียว เราจะทราบได้เมื่อเรามี
ประสบการณ์ ๒ ด้าน คือประสบการณ์ที่ใจหลุดจากศูนย์กลางกาย
ฐานที่ ๗ และประสบการณ์ที่ใจเราหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย
เมื่อเรามีประสบการณ์ ๒ ด้าน เราจึงจะแยกออกได้ว่า สิ่งใดที่
เรียกว่าเทียม สิ่งใดที่เรียกว่าแท้ เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรม
จะแนะนำโดยผู้ที่มีความรู้อย่างเดียวก็ไม่ได้ จ่าตำรับตำรา
ท่องได้คล่องปากจําได้ขึ้นใจ แล้วเอามาแนะนำกัน เหมือนคน
ตาบอดจูงคนตาดี ซึ่งเป็นไปไม่ได้ จะต้องได้ผู้แนะนำที่รู้แจ้ง
เห็นแจ้งแทงตลอดในเส้นทางสายกลางสายนี้
ดังนั้นหนทางที่จะเข้าถึงธรรมกายจึงมีทางเดียวที่เรียกว่า
เอกายนมรรค แต่วิธีการเข้าถึงศูนย์กลางกายนั้นมาได้หลายสิบวิธี
ดังกล่าวแล้ว เมื่อเราทราบอย่างนี้เราจะได้ปฏิบัติให้ถูกวิธี วางใจ