ข้อความต้นฉบับในหน้า
Bsumaประช
อนัตตลักขณสูตร
៣៨២
สามารถรู้เห็นได้ด้วยตัวเอง พิสูจน์ได้ด้วยใจที่หยุดนิ่งนั่นเอง
เพราะพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการปฏิบัติ จะนึกคิด
ดันเดาเอาอย่างเดียวนั้นไม่ได้ ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง
จึงจะเข้าถึงแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา
คนในสมัยก่อน โดยเฉพาะในศาสนาพราหมณ์ เขามี
การถกเถียงกันมากว่า ที่สุดแห่งทุกข์ของเขานั้น เป็นอัตตาบ้าง
มีลักษณะเป็นอาตมัน หรือปรมาตมันบ้าง แต่บางฝ่ายก็แย้งว่า
ไม่ใช่ ทุกอย่างสูญหมด สุดท้ายของชีวิตก็เหลือแต่ความว่าง
เปล่าทั้งนั้น เมื่อกล่าวถึงพระนิพพานในทางพระพุทธศาสนา
พระบรมศาสดาก็ทรงได้รับคำถามเหมือนกันว่า นิพพานเป็น
อัตตา หรืออนัตตา
เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเห็นว่า หากตอบตรงๆ ว่า
นิพพานเป็นอัตตา จะถูกมองว่า ทรงเห็นด้วยกับลัทธิพราหมณ์
ที่บอกว่า นิพพานเป็นอัตตา ถ้าจะทรงตอบว่า นิพพานเป็นอนัตตา
จะถูกมองไปว่า ทรงเห็นด้วยกับเจ้าลัทธิที่นิยมการขาดสูญ
เนื่องจากความเข้าใจกับคำว่านิพพานของแต่ละลัทธิ ก็มีความ
เห็นไม่ตรงกันแล้ว เพราะฉะนั้นพระพุทธองค์จะไม่ทรงชี้ชัดว่า
นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตา จะทำให้เกิดการทะเลาะกันไปเสีย
เปล่าๆ แต่ทรงให้นัย เหมือนที่ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร