ข้อความต้นฉบับในหน้า
Bsumaประช
อาทิตตปริยายสูตร
๓๕๖
เมื่อค้นเข้าไปลึกๆ จะพบว่า ราคะ โทสะ และโมหะ
เกิดมาจากจัก บ้าง รูปบ้าง ความรู้เห็นทางตา สัมผัสทางกาย
ต้องแก้ไขทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้ยินดียินร้าย
ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ ที่มากระทบ
ถูกต้องอายตนะทั้ง 5 นั้น เพียงทำใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ในกลางกาย
หยุดใจให้ได้เท่านั้นแหละสำเร็จหมด
เมื่อใจหยุดถูกส่วน ถูกต้นแหล่งแห่งความสุข และความ
บริสุทธิ์แล้ว ก็เบื่อหน่ายใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ
ธรรมารมณ์ภายนอก เบื่อหน่ายในความรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย
และใจ เบื่อหน่ายในการสัมผัสทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เบื่อหน่ายทั้งหมด เพราะมีสุขที่ยิ่งไปกว่านั้นอีกมากมายนัก
โดยเฉพาะสุขที่เกิดจากใจหยุดนิ่ง จะหาสิ่งใดมาเทียบ หรือเสมอ
เหมือนไม่มี
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “นตฺถิ สนฺติปร์ สุข สุขอื่น
ยิ่งกว่าใจหยุดใจนิ่งไม่มี” เมื่อหยุดใจไปตรงกลางกายฐานที่ ๗
ได้ ความร้อนทั้งหลายที่มีอยู่ก็ดับหมด เหลือแต่ความเย็นกาย
เย็นใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เป็นสุขทุกทิวาราตรี เป็นสีตภูโต คือ
มีใจสงบยือกเย็นแล้ว
เพราะฉะนั้น อยากดับไฟ คือกิเลส ต้องเริ่มต้นที่ใจหยุด
นี่แหละ ดังนั้นให้หมั่นฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำสม่ำเสมอ
ฝึกกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าถึงพระธรรมกายกันทุกๆ คน