ข้อความต้นฉบับในหน้า
Bsumaประช
โพชฌงค์ ๗ ทาง สำเร็จสู่นิพพาน
๓๕๒
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ตั้งสติตรงนั้นทำใจให้หยุดนิ่ง
ไม่หยุดเป็นไม่ยอมเลิก ทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่งใจ
หยุดได้ จึงจะเป็นตัวสติสัมโพชฌงค์ เมื่อทำใจหยุดตรงนั้น
ไม่เผลอสติ ระวังใจหยุดเอาไว้ นั่ง นอน ยืน เดิน ก็เอาใจมา
หยุดไว้ตรงกลางไม่ให้เผลอ สติของเราจะบริบูรณ์เป็นมหาสติ
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ คือเมื่อสติควบคุมใจให้หยุดนิ่งอยู่
ในกลางกายได้นิ่งสนิทดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความดีหรือความชั่ว
เล็ดลอดเข้ามา ก็ทำใจให้หยุดนิ่งเอาไว้ ใจหยุดระวังไว้ไม่ให้เผลอ
สิ่งไหนที่ไม่ดี เข้ามาในใจ ก็พิจารณาเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นบาปอกุศล
ก็เว้นให้ห่างเสีย สิ่งใดเป็นกุศลธรรมก็เลือกลงมือปฏิบัติให้รู้แจ้ง
เห็นจริง การสอดส่องธรรมะทั้งฝ่ายดีและไม่ดี ท่านเรียกว่า
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
วิริยสัมโพชฌงค์ คือ เพียรรักษาใจให้หยุดให้นิ่ง ไม่ให้
เคลื่อนออกนอกศูนย์กลางกายไม่ไปยินดียินร้าย ความยินดียินร้าย
เป็นอภิชฌาโทมนัส เมื่อเล็ดลอดเข้าไป ก็ทำให้ใจของเราหยุดนิ่งได้
ไม่สนิท ทําให้ใจวอกแวก เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรกลั่นกล้า
รักษาไว้ให้หยุด จึงจะชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อใจหยุดนิ่งถูกศูนย์ถูกส่วนดีแล้ว
ส่วนใหญ่ครั้งแรกๆ นักปฏิบัติธรรมมักจะรู้สึกดีอกดีใจ ลิงโลดใจ