ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประช
โทษของการเป็นผู้ว่ายาก
๓๔๕
เมื่อทรงทราบอย่างนั้น ก็ทรงทราบด้วยพระปรีชาญาณว่า
สาวกของเรารูปนี้ หากจะเทศน์สอนว่ากล่าวอย่างคนธรรมดา
ทั่วไปแล้ว แม้จะรับฟังเพราะเคารพเรา แต่ก็คงไม่เข้าไปในใจ
อย่างแน่นอน เราควรที่จะอนุเคราะห์ด้วยธรรมเทศนาที่ลึกซึ้ง
ตรงใจ ครั้นดาริอย่างนี้แล้ว ก็ตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ไม่ใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นผู้ที่ว่ายากสอนยาก แม้ในอดีตชาติเธอก็
เป็นผู้ที่ว่ายาก ไม่เชื่อฟังคำของบัณฑิตทั้งหลาย จึงถึงความ
ย่อยยับมาแล้ว” เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้แล้ว ก็ทรงนำเรื่อง
ราวในอดีตที่เคยเกิดขึ้นมาตรัสเล่าว่า
ในอดีตกาล มีอยู่พระชาติหนึ่ง ที่พระบรมโพธิสัตว์ได้
เกิดเป็นพญาแร้งมีนามว่า อปรัณ เป็นพญาแร้งที่มีปัญญา
ปกครองเหล่าบริวารทั้งหลายด้วยเมตตาธรรม ทำให้พญาแร้ง
โพธิสัตว์เป็นที่รักเป็นที่เคารพของเหล่าบริวารทั้งหลาย ได้มีหมู่
แร้งห้อมล้อมและอาศัยอยู่บริเวณเขาคิชฌกูฏ ซึ่งภูเขาลูกนี้ใน
สมัยนั้นเป็นมหาบรรพต เป็นภูเขาที่ใหญ่มาก ที่เขาเรียกกันว่า
เขาคิชฌกูฏ เพราะยอดเขามีหมู่แร้งอาศัยอยู่ เพราะคิชฌะ
แปลว่าแร้ง ส่วนกูฏแปลว่ายอด
พญาแร้งนี้มีลูกอยู่ตัวหนึ่งชื่อ มิคาโลปะ กำลังอยู่ในวัย
ที่คะนอง อยากรู้อยากลอง และเป็นสัตว์ที่ว่ายาก บอกไม่ค่อย
จะเชื่อฟัง และชอบที่จะบินสูงกว่าแร้งตัวอื่นๆ อย่างมาก ด้วย