การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 24
หน้าที่ 24 / 252

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีวิธีการฝึกอบรมที่หลากหลายและเหมาะสมแก่แต่ละบุคคล โดยทรงสอนด้วยความจริงจัง โดยไม่ประคบประคองเกินไป ส่วนบุคคลที่เหมาะแก่การฝึกคือพระภิกษุสาวกที่มีเป้าหมายในการบรรลุธรรม เมื่อฝึกฝนตามคำสอนของพระองค์จะนำไปสู่ความหลุดพ้น โดยมีพระไตรปิฎกเป็นแหล่งรวบรวมคำสอนสำคัญในพระพุทธศาสนา มีทั้งหมด 84,000 พระธรรมขันธ์ เพื่อให้บุคคลได้รับประโยชน์สูงสุดในการฝึกอบรม.

หัวข้อประเด็น

-วิธีการฝึกอบรม
-ความสำคัญของการฝึก
-พระพุทธศาสนา
-การบรรลุมรรคผลนิพพาน
-พระไตรปิฎก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นอกจากจะทรงมีวิธีการฝึกที่หลากหลาย เหมาะสมแตกต่างกันไปตามแต่ประเภทของบุคคล ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว พระองค์ยังทรงฝึกบุคคลที่ฝึกได้ด้วยความจริงจังอย่างเต็มที่โดยปราศจากอคติใดๆ ดังที่ตรัสแก่พระอานนท์ไว้ว่า “ดูก่อนอานนท์ เราจักไม่ประคับประคองพวกเธอเหมือนช่างหม้อประ คับประคองภาชนะดินดิบที่ยังดิบๆ อยู่ เราจักข่มแล้วๆ จึงบอก จักยกย่อง แล้วๆ จึงบอก ผู้ใดมีแก่นสาร ผู้นั้นจักตั้งอยู่ ซึ่งหมายความว่า พระองค์จะไม่ฝึกด้วยความทะนุถนอมใครมากจนเกินไปจะทรงใช้วิธีพร่ำสอนบ่อยๆ สิ่งใดที่ทำได้ดี ถูกต้อง เป็นกุศล พระองค์จะทรงยกย่องให้กำลังใจ และสนับสนุนให้ทำยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ใน ขณะเดียวกัน สิ่งใดที่เป็นความชั่ว เป็นอกุศล พระองค์จะตำหนิ และสอนไม่ให้ทำในสิ่งนั้นอีก การพร่ำสอน อย่างนี้ พระองค์ชี้ว่าเหมาะกับบุคคลที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจ เอาจริงเอาจัง มีมรรคผลนิพพานเป็นที่ตั้ง จึงจะ ทนต่อการฝึกของพระองค์ได้ บุคคลที่พระองค์ตรัสว่าเหมาะแก่การฝึก ในที่นี้หมายถึงพระภิกษุสาวก เพราะเป็นผู้ที่มีเป้าหมาย ชีวิตชัดเจน นั่นคือการบรรลุมรรคผลนิพพาน ทั้งนี้ด้วยเห็นว่าชีวิตในวัฏสงสาร นำมาซึ่งความทุกข์นานัปการ เมื่อเห็นอย่างนั้น ท่านจึงสลัดพันธนาการของชีวิตเสีย ไม่ว่าจะเป็นชีวิตครอบครัว ธุรกิจการงาน ความ เพลิดเพลินสนุกสนานในทางโลก หรือความเจริญก้าวหน้าในแบบของฆราวาสวิสัย หันมาใช้ชีวิตในเพศนักบวช มุ่งฝึกฝนอบรมตนเองอย่างจริงจัง ตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่กล่าวมาแล้ว และเพราะความที่มีมรรคผลนิพพานเป็นเป้าหมาย การฝึกฝนอบรมตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญ อันยิ่งใหญ่ ที่จะเกี่ยวข้องผูกพันกับพระภิกษุไปจนตลอดชีวิต 1.5 แม่บทสำหรับการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา ตลอด 45 พรรษา ของการเทศนาโปรดสรรพสัตว์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้บรรลุธรรมตาม พระองค์ไปนั้น มีคำสอนสำคัญๆ ที่ทรงตรัสเอาไว้มากมาย โดยจะทรงเทศน์ให้เหมาะสมกับจริตอัธยาศัยของ ผู้ฟัง เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นได้รับประโยชน์สูงสุด คือมีความหลุดพ้นเป็นจุดหมาย ซึ่งพระธรรมเทศนาที่ทรง สั่งสอนไว้มีมากมายถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ในปัจจุบันได้รวบรวมคำสอนเหล่านั้นไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก มหาสุญญตสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 355 หน้า 25 บทที่ 1 การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา DOU 13
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More