ข้อความต้นฉบับในหน้า
หากจะฝึกในขั้นตอนที่ 2 คือ อินทรียสังวร คงต้องเริ่มต้นด้วยการอ่าน หรือฟังจากผู้รู้ในทุกเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับอินทรียสังวร
หากจะฝึกในขั้นตอนที่ 3 คือ การรู้จักประมาณในโภชนะ คงต้องเริ่มด้วยการอ่าน หรือฟังจากผู้รู้
ในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประมาณในโภชนะ
ส่วนในขั้นตอนอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นไม่ว่าจะฝึกในขั้นตอนไหน “ธัมมัญญู” จะเป็นจุดเริ่มต้น
ในการฝึกเสมอ
3.8 แนวทางในการศึกษาธรรมะสำหรับฆราวาส
3.8.1 เป้าหมายในการศึกษาธรรมะของฆราวาส
แม้ว่าการใช้ชีวิตของฆราวาสผู้ครองเรือนจะมีภารกิจต่างๆ มากมาย เป็นเหตุให้มีเวลาศึกษาธรรมะ
ได้น้อยกว่าพระภิกษุก็ตาม แต่ถึงอย่างนั้น ก็ต้องเพียรพยายามศึกษาธรรมะที่จำเป็นแก่การดำเนินชีวิต
ของตนเอง
ดังที่ได้กล่าวไว้ว่า ฆราวาสคงมีเป้าหมายชีวิตส่วนใหญ่อยู่ 2 ระดับด้วยกัน คือ การประสบความ
สำเร็จในชาติปัจจุบัน และการมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป เพราะเหตุนั้น ความเข้มงวดกวดขัน หรือการฝึก
ปฏิบัติเพื่อขัดเกลา กาย วาจา ใจ คงไม่สามารถทำได้เหมือนกับที่พระภิกษุกระทำ ฆราวาสจึงต้องนำหลัก
ธรรมไปปรับใช้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การได้สั่งสมบุญบารมี ควบคู่ไปกับการทำภารกิจหน้าที่การงานในชีวิต
ประจำวัน ซึ่งข้อปฏิบัติที่เหมาะสม ก็คือ การทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ทั้งนี้เพราะว่า
สามารถทำได้เป็นประจำทุกวัน อีกทั้งยังเป็นการสั่งสมบุญบารมี ที่จะเกื้อกูลให้ได้รับประโยชน์สุขทั้งใน
โลกนี้และโลกหน้า โดยเฉพาะถ้าหมั่นปฏิบัติเพื่อขัดเกลากิเลสภายในใจ คือหมั่นทำทาน เพื่อกำจัดความโลภ
ทั้งหลาย หมั่นรักษาศีล เพื่อกำจัดโทสะภายใน และหมั่นนั่งสมาธิกลั่นใจให้ใส เพื่อกำจัดความไม่รู้หรือโมหะ
ให้สิ้นไป กาย วาจา และใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส ผลสุดท้าย ก็จะหมดกิเลสได้เช่นเดียวกับพระภิกษุเหมือนกัน
3.8.2 ตัวอย่างหลักธรรมสำคัญที่ควรศึกษา
หลักธรรมที่ฆราวาสควรศึกษาก็คือพระไตรปิฎกเช่นกัน แต่หากไม่สามารถทำได้อย่างจริงจัง
เพราะต้องทำภารกิจการงาน อย่างน้อยควรเลือกศึกษาหลักธรรมสำคัญๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับการสร้าง
บุญบารมีในวิถีชีวิตของตนเอง ตัวอย่างเช่น
1. “ทาน ศีล ภาวนา” เพราะจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในระดับที่สามารถนำไปปฏิบัติให้
เกิดผลได้อย่างสมบูรณ์
66 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา