ความหมายของกาลัญญูในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 155
หน้าที่ 155 / 252

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการฝึกฝนและเข้าใจในธรรมที่เรียกว่า กาลัญญู ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พระภิกษุรู้จักการบริหารเวลาอย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาคุณธรรมและการฝึกฝนตนเอง โดยนำกิจกรรมการเรียน การสอบถาม การประกอบความเพียร และการหลีกออกเร้นมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา อธิบายถึงความหมายคำว่า 'กาล' และ 'กาลัญญู' ที่เกี่ยวข้องกับการรู้จักเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้พระภิกษุสามารถเติบโตและพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ โดยมีวิธีการฝึกที่ชัดเจนและประเมินความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของกาลัญญู
-การบริหารเวลาในพระพุทธศาสนา
-การพัฒนาคุณธรรม
-กิจกรรมประจำวันในการฝึกฝน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.1 ธรรมที่ชื่อว่า “กาลัญญู” บทที่ 7 ขั้นตอนที่ 5 กาลัญญู จากการศึกษาธัมมัญญูสูตรทั้ง 4 ขั้นตอนที่ผ่านมา พอจะทำให้เห็นวิธีการฝึกที่พระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทรงแนะนำได้ว่า พระภิกษุต้องมีความรู้และความเข้าใจในสิ่งที่พระองค์ทรงสอนไว้เป็นอย่างดี จนกระทั่ง สามารถนำไปฝึกฝนตนเองให้มีคุณธรรมก้าวหน้าขึ้นมาหลังจากนั้นก็ต้องประเมินคุณธรรมความก้าวหน้าของ ตนเองให้ได้ อีกทั้งพัฒนาปรับปรุงวิธีการฝึกของตนเองเรื่อยไป โดยผ่านทางกิจวัตรกิจกรรมประจำวัน และ 4 ที่พระภิกษุต้องเกี่ยวข้องทุกวันมาเป็นอุปกรณ์ในการฝึก อาศัยปัจจัย เมื่อฝึกได้ตามขั้นตอนเหล่านี้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้ฝึกในขั้นตอนที่ 5 ต่อไป ซึ่ง ในขั้นตอนนี้พระองค์ทรงสอนพระภิกษุให้รู้จักเอาใจใส่ในการบริหารเวลา โดยตรัสว่า “ก็ภิกษุเป็นกาลัญญอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็น กาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีก ออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้ เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้ เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียก ว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญ ด้วยประการฉะนี้ ฯ” 7.2 คำแปล และความหมาย คำว่า “กาล” แปลได้หลายนัย คือ เวลา ยุค สมัย ครั้ง คราว สภาพผู้บั่นทอน คือยังชีวิตสัตว์ให้ สิ้นไป หรือสภาพผู้ทำชีวิตของสัตว์ให้น้อยลงทุกวัน สำหรับคำว่า “กาลัญญู” ในที่นี้ หมายถึง การเป็นผู้รู้จักเวลาอันสมควรในการทำกิจ 4 ประการ คือ การเรียน การสอบถาม การประกอบความเพียร และการหลีกออกเร้น 144 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More