การฝึกอบรมจิตใจผ่านข้อธรรมของพระราหุล SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 213
หน้าที่ 213 / 252

สรุปเนื้อหา

เมื่อสามเณรราหุลในวัยหนุ่มได้ศึกษาและฝึกอบรมตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเริ่มตระหนักถึงความไม่เที่ยงของรูปและขันธ์ทั้งห้า รวมถึงความเจ็บปวดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง ท่านได้รับการสอนให้รู้จักสำรวมระมัดระวังใจ โดยมีตัวอย่างในการฝึกปฏิบัติในพระธรรมเทศนา ทำให้พระราหุลสามารถหลุดพ้นจากอาสวะและบรรลุพระอรหัตตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนอย่างละเอียดลึกซึ้งที่ปรากฏใน มหาราหุโลวาทสูตร และ จูฬราหุโลวาทสูตร หลังจากการปฏิบัติและการคำสอนนี้ จิตของพระราหุลได้เกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาจิตที่ทำให้เขาก้าวสู่การเป็นพระอรหันต์อย่างสูงส่ง.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกจิตใจ
-พระราหุล
-พระธรรมเทศนา
-ความไม่เที่ยง
-ขันธ์ทั้งห้า
-การสำรวจมุมมองชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อสามเณรราหุลอยู่ในวัยหนุ่ม สิ่งที่น่าระวังคือกามราคะ ขณะบิณฑบาตในยามเช้าตามพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าไป พระพุทธองค์ก็ตรัสสอนให้รู้จักสำรวมระมัดระวังใจของตนสอนให้มองทุกสิ่งไปตามสภาพ ความเป็นจริง ดังที่ปรากฏใน มหาราหุโลวาทสูตร ว่า “ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต เป็นอนาคตและเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอจึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของ เรา” เมื่อพระราหุลมีสติปัญญามากเพียงพอ จึงตรัสสอนธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ทรงสอนให้เกิด ความเบื่อหน่ายในขันธ์ทั้งห้าประการอย่างเป็นเหตุเป็นผลไปตามลำดับดังปรากฏใน จูฬราหุโลวาทสูตร ตอนหนึ่งว่า พ. “ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง” ร. “ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า” พ. “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข” ร. “เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า” พ. “ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่ จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเรา นั่นอัตตาของเรา” ร. “ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า” พ. “ราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง...” ด้วยพระมหาปัญญาธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นครูฝึกบุรุษอย่างชาญฉลาด ภายหลัง จบพระธรรมเทศนาแล้ว จิตของพระราหุลก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งผู้เลิศกว่า ภิกษุทั้งหลายด้านใคร่ต่อการศึกษา มหาราหุโลวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 133 หน้า 278 จูฬราหุโลวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 795 หน้า 477 202 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More