การฝึกสติสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 50
หน้าที่ 50 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการฝึกสติสัมปชัญญะในพระพุทธศาสนา อธิบายความสำคัญของสติที่ช่วยไม่ให้เราหลงลืมและมีความเพียรในชีวิต รวมถึงความรู้สึกตัวในขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อการบรรลุพระนิพพานที่แจ่มชัด โดยเน้นการปฏิบัติในอิริยาบถต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน และนอน ซึ่งทั้งสติและสัมปชัญญะถือเป็นธรรมที่มีอุปการะมากในการดำรงชีวิตตามหลักของพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสติ
-ความสำคัญของสัมปชัญญะ
-อิริยาบถต่างๆ ของการฝึก
-หลักการเจริญสมาธิ
-การดำเนินชีวิตตามทางพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นุ่ม จักสำเร็จการนอนบนที่นอนมีฟูกและหมอนหนาอันอ่อนนุ่ม จนกว่า พระอาทิตย์ขึ้น มารผู้มีบาปย่อมได้ช่อง ได้โอกาสแต่พวกเธอเหล่านั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ทรงไว้ซึ่ง หมอนท่อนไม้หนุนศีรษะและเท้า ไม่ประมาท มีความเพียรในการเริ่มตั้ง ความเพียรไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ” 2.3.5 ขั้นตอนที่ 5 “ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ” เมื่อพระภิกษุสามารถฝึกฝนอบรมตนเองจนเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ได้ดีแล้ว พระพุทธองค์จะทรงแนะนำให้ยิ่งขึ้นไปว่า “ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไป และถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และ จีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่งเถิด” คำว่า “สติ” หมายถึง ความระลึกได้ นึกได้ อาการที่จิตฉุกคิดได้ เช่น ฉุกคิดขึ้นได้ว่า ถึงเวลานั่ง สมาธิเจริญภาวนาแล้ว เป็นต้น ดังนั้น “สติ” จึงเป็นอาการที่จิตนึกขึ้นได้ ซึ่งตรงข้ามกับอาการที่เรียกว่า “เผลอ” หรือ “ลืม” ในพระพุทธศาสนา ถือว่า “สติ” เป็นธรรมที่มีอุปการะมาก กล่าวคือ “สติ” ช่วยไม่ให้งานการเสียหาย เพราะหลงลืม ทั้งนี้เพราะงานบางอย่างถ้าลืมก็มักจะเกิดความเสียหายได้ เช่น ลืมทิ้งไม้กวาด อุปกรณ์ทำความ สะอาดไว้ตากแดดตากฝน ก็ทำให้ไม้กวาดนั้นเสียหาย ใช้งานอีกไม่ได้ เป็นต้น ดังนั้นสติจึงเป็นธรรมที่มีอุปการะ มาก เพราะช่วยไม่ให้เราเผลอ ไม่หลงลืมในสิ่งที่ควรทำหรือต้องทำ ยิ่งกว่านั้น สติยังเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง ในการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อกลั่นใจให้บริสุทธิ์ ทำพระนิพพานให้แจ้งด้วย คำว่า “สัมปชัญญะ” หมายถึง ความรู้สึกตัว หรืออาการรู้ตัวในขณะที่ทำอยู่ เช่น รู้ว่าเรากำลัง พูดอะไร คิดอะไร หรือกำลังทำอะไร ในพระพุทธศาสนาถือว่า “สัมปชัญญะ” เป็นธรรมที่มีอุปการะมากอีกข้อหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้คู่กับ “สติ” เรียกว่า “สติสัมปชัญญะ” โดยถือว่า “สติ” เกิดก่อนคิด พูด และทำ ส่วน “สัมปชัญญะ” เกิดใน ขณะกำลังคิด พูด และทำ แต่ธรรมทั้งสองนี้จะเกิดควบคู่กันเสมอ ดังนั้น ภิกษุที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด เช่น การนั่ง การยืน การเดิน บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 39
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More