หลักการเลือกธรรมะตามจริตอัธยาศัย SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 210
หน้าที่ 210 / 252

สรุปเนื้อหา

การเลือกธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีความสำคัญต่อการเข้าใจธรรมอย่างถูกต้อง โดยแยกตามจริตอัธยาศัยของผู้ฟังได้ 6 ประเภท ได้แก่ ราคจริต, โทสจริต, โมหจริต, สัทธาจริต, พุทธิจริต, และวิตกจริต ซึ่งแต่ละประเภทมีแนวทางการสอนที่แตกต่างกัน เช่น การใช้คำสอนที่เหมาะสมกับนิสัยและข้อบกพร่องที่มีอยู่ เพื่อให้ผู้ฟังสามารถเข้าใจและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้องต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้จาก “วิธีพูดของข้าพเจ้า” โดยพ.อ.ปิ่น มุทุกันต์.

หัวข้อประเด็น

-หลักการเลือกธรรมะ
-จริตอัธยาศัย
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ประเภทของจริต
-การสอนตามจริต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักในการเลือกธรรมะจึงแบ่งไปตามลักษณะของผู้ฟัง ว่ามีลักษณะอย่างไร ดังจะยกตัวอย่างการ สอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ 3 แนวทาง ดังนี้ 9.3.1 เลือกธรรมะตามจริตอัธยาศัย จริตอัธยาศัย คือ นิสัยปกติพื้นฐานอันมีอยู่ในแต่ละบุคคล แบ่งออกได้ 6 ประเภท คือ 1. ราคจริต จะมีลักษณะรักสวยรักงาม 2. โทสจริต จะมีลักษณะหงุดหงิด รีบร้อน 3. โมหจริต จะมีลักษณะเขลา งมงาย 4. สัทธาจริต จะมีลักษณะเชื่อง่าย 5. พุทธิจริต จะมีลักษณะชอบใช้ความคิด ตรึกตรอง 6. วิตกจริต จะมีลักษณะมักกังวล ฟุ้งซ่าน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเลือกธรรมะที่เหมาะสมกับจริตอัธยาศัยของผู้ฟัง จะกล่าวสอนใน สิ่งที่เป็นประโยชน์ไปตามจริตอัธยาศัย ดังนี้ “พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต ย่อมตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต ย่อมทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ดำรงอยู่ในการเรียนในการไต่ถาม ในการฟังธรรมตามกาล ในการสนทนาธรรมตามกาล ในการอยู่ร่วมกับครู ย่อมตรัสบอกอานาปานสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตกจริต ย่อมตรัสบอกพระสูตรอันเป็นนิมิตดี ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความ เป็นธรรมดีแห่งพระธรรม ความปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์ และศีลทั้งหลาย ของตน อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต ย่อมตรัสบอกธรรมอันเป็นนิมิตแห่งวิปัสสนา ซึ่งมีอาการไม่เที่ยง มีอาการ เป็นทุกข์ มีอาการเป็นอนัตตา แก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต (พุทธิจริต)” ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก “วิธีพูดของข้าพเจ้า” ของพ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ว่าด้วยจักษุ 5, อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 หน้า 304 บ ท ที่ 9 ขั้ น ต อ น ที่ 7 บุคคล ปโร ปรัญญู DOU 199
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More