ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดังนั้น พระภิกษุจึงต้องสำรวมระวังใจของตนเองไว้ให้ดี อย่าเปิดโอกาสให้กิเลสแม้สักเล็กน้อยเข้ามา
มีอำนาจบังคับใจ ไม่อย่างนั้นอาจกลายเป็นภัยใหญ่ ที่ทำให้ต้องทุกข์ใจไปอีกนานวัน สมดังที่พระพุทธองค์
ตรัสไว้ว่า
“ขึ้นชื่อว่า กิเลสเป็นเช่นกับปัจจามิตร และปัจจามิตรเล่า จะชื่อว่า
เล็กน้อยไม่มีเลย ได้โอกาสแล้วย่อมทำให้ถึงความพินาศโดยส่วนเดียว
กิเลสแม้ถึงจะมีประมาณน้อย เกิดขึ้นแล้ว ได้โอกาสเพื่อจะเพิ่มพูน ย่อม
ยังความพินาศอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นได้...”1
พร้อมทั้งทรงเล่าเรื่องราวเป็นข้อเตือนใจ เพื่อพระภิกษุจะได้ระมัดระวังไม่ให้ถูกความโลภครอบงำ
เช่นเดียวกับหมาจิ้งจอกใน สิคาลชาดก ดังนี้
สิคาลชาดก
ในอดีต ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดเป็น
หมาจิ้งจอกอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำใกล้ป่า
ครั้งนั้นช้างแก่ตัวหนึ่งล้มตายอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา เมื่อสุนัขจิ้งจอกออกหาเหยื่อ พบซากช้างนั้นคิดว่า
“เราได้เหยื่อชิ้นใหญ่แล้ว” จึงไปที่ซากนั้น กัดที่งวง ก็รู้สึกเหมือนเวลาที่กัดงอนไถ มันคิดว่า “ตรงนี้ไม่ควร
กิน” จึงกัดที่งาทั้งคู่ ก็รู้สึกเหมือนเวลาที่กัดเสา กัดหูเล่า ก็เหมือนเวลาที่กัดขอบกระด้ง กัดที่ท้อง เหมือน
เวลาที่กัดยุ้งข้าว กัดที่เท้า เหมือนเวลาที่กัดครก กัดที่หาง ก็เหมือนเวลาที่กัดสาก จึงกัดตรงทวารหนัก
รู้สึกเหมือนเวลาที่กัดขนมนุ่ม จึงคิดว่า “คราวนี้เราได้ที่ที่ควรกัดกินอันอ่อนนุ่มแล้ว” จึงเริ่มกัดตั้งแต่ทวาร
หนัก เข้าไปถึงภายในท้อง กินตับและหัวใจเป็นต้น เวลากระหายน้ำ ก็ดื่มโลหิต เวลาอยากจะนอนก็เอาพื้น
ท้องซากช้างรองนอน
ครั้งนั้นเอง สุนัขจิ้งจอกมีความคิดว่า “ซากช้างนี้เป็นเหมือนบ้านของเรา เพราะเป็นที่อยู่สบาย ครั้น
อยากกิน ก็มีเนื้ออย่างเพียงพอ เราจะไปที่อื่นอีกทำไม จึงไม่ยอมไปในที่อื่นอีกเลย คงอยู่กินเนื้อในท้องช้าง
แห่งเดียว
ครั้งเวลาล่วงไปจนถึงฤดูแล้ง ซากช้างนั้นก็หดตัวเหี่ยวแห้ง ด้วยกระแสลมและแสงแดดที่แผดเผา
แม้เนื้อก็พลอยแห้ง โลหิตก็เหือดหาย ช่องที่สุนัขจิ้งจอกเข้าไปก็ปิด ภายในท้องจึงมืด คล้ายเหมือนอยู่ใน
โลกันตนรก เมื่อมันไม่มีทางออก ก็เกิดความหวาดกลัว ซมซานไปกัดทางโน้นที ทางนี้ที่ให้วุ่นวาย แต่ก็หา
ทางออกไม่ได้เลย
'สิคาลชาดก, อรรถกถา ชาดก เอกนิบาต, มก. เล่มที่ 56 หน้า 593
32 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา