ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. ดูก่อนภิกษุมาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและ
โคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด
ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
เป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายแล้ว ตถาคตย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้น
ไปว่า
2. ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
จงอย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือเอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ
ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่ จึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษาจักขุนทรีย์ถึง
ความสำรวมในจักขุนทรีย์เถิด เธอได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว เธอดมกลิ่นด้วยมานะแล้ว เธอลิ้มรสด้วย
ชิวหาแล้ว เธอถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว เธอรู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว อย่าถือเอาโดยนิมิต อย่าถือ
เอาโดยอนุพยัญชนะ จงปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้ไม่สำรวมอยู่
จึงถูกอกุศลบาปธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ จงรักษามนินทรีย์ถึงความสำรวมในมนินทรีย์เถิด...ฯ
3. ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ คือ พึงบริโภคอาหาร พิจารณาโดย
แยบคายว่า เราบริโภคมิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อจะมัวเมา มิใช่เพื่อจะประดับ มิใช่เพื่อจะตกแต่งร่างกายเลย
บริโภคเพียงเพื่อร่างกายดำรงอยู่ เพื่อให้ชีวิตเป็นไป เพื่อบรรเทาความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
เท่านั้น ด้วยอุบายนี้เราจะป้องกันเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น และความเป็นไปแห่งชีวิตความไม่มีโทษ
ความอยู่สบาย จักมีแก่เรา...
4. ดูก่อนภิกษุมาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากอาวรณียธรรมด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการ
เดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่า จะลุก
ขึ้นไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด....ฯ
5. ดูก่อนภิกษุมาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ คือ ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าว
ไปและถอยกลับ ในเวลาแลดูและเหลียวดู ในเวลางอแขนและเหยียดแขน ในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร
และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยว และลิ้มรส ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ
ตื่น พูดและนิ่งเถิด ฯ
6. ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่า
ชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟางเถิด ภิกษุนั้นจึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ
ที่แจ้ง และลอมฟาง
234 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา