ข้อความต้นฉบับในหน้า
จุดไหน เช่น ผู้ที่ยังอยู่ในฆราวาสวิสัย ใช้ชีวิตในทางโลก ก็ควรมุ่งมั่นทำเป้าหมายที่ 1 และ 2 ให้ได้อย่าง
เต็มที่สมบูรณ์ ในขณะเดียวกัน ผู้ที่อยู่ในสถานภาพของนักบวชที่ต้องการความหลุดพ้น ก็ต้องมุ่งมั่น
หาเป้าหมายที่ 3 อย่างจริงจังด้วย
มีข้อน่าสังเกตประการหนึ่งว่า ผู้ที่จะประสบความสำเร็จในเป้าหมายแต่ละระดับได้นั้น แต่ละคนต้อง
ทำด้วยตัวของตัวเองทั้งสิ้น ไม่มีใครทำแทนให้กันและกันได้ เช่น จะประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานได้
ก็ต้องอาศัยความขยันหมั่นเพียรของตน จะสั่งสมบุญได้ ก็ต้องขวนขวายทำให้แก่ตนเอง
คำถามก็คือ เราควรจะเริ่มต้นปฏิบัติกันอย่างไร จึงจะบรรลุเป้าหมายของชีวิตในแต่ละระดับได้
อย่างสมบูรณ์ที่สุด คำตอบในข้อนี้ คงไม่มีอะไรดีไปกว่าการศึกษาวิธีการของผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต
มาก่อนเรา ซึ่งก็คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
1.2 ต้นแบบของการฝึกอบรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในคราวที่เป็นพระโพธิสัตว์นั้น ก็ทรงเพียรพยายามเพื่อบรรลุเป้าหมายสำคัญ
ในชีวิตทั้ง 3 ระดับมานับภพนับชาติไม่ถ้วนเช่นเดียวกัน ซึ่งบางชาติก็ประสบความสำเร็จในฐานะที่เป็นกษัตริย์
ผู้ทรงทศพิธราชธรรม บางชาติทรงเป็นมหาเศรษฐีผู้ใจบุญ และในแต่ละชาติก็จะทรงสั่งสมบุญบารมีควบคู่
กันไป (เป้าหมายที่ 1) เมื่อละจากโลกก็ไปเกิดอยู่ในสุคติโลกสวรรค์ (เป้าหมายที่ 2) ครั้นกลับมาเกิดใหม่
อีกครั้งก็มาทำซ้ำตอกย้ำในเรื่องเดิมๆ ครั้นเวลาผ่านไป บุญบารมีที่ทรงสั่งสมไว้เริ่มเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ กระทั่ง
ในชาติสุดท้ายจึงทรงตรัสรู้ธรรม (เป้าหมายที่ 3) หลังจากนั้นจึงได้นำสิ่งที่ตรัสรู้มาสั่งสอนให้ผู้อื่นมีโอกาสรู้
ตามพระองค์ไป ดังนั้นคำสอนของพระองค์จึงเป็นเสมือนกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จในเป้าหมายชีวิตทั้ง 3 ระดับ
ของมนุษย์ทุกคน
คำสอนของพระองค์มีความหลากหลายแตกต่างกันไปขึ้นกับว่าผู้ฟังเป็นใคร พระองค์จะทรงเทศน์ให้
เหมาะสมกับระดับจิตใจและสถานภาพของผู้ฟัง โดยมีหลักสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติเพื่อให้กาย วาจา ใจ
สะอาดบริสุทธิ์ ซึ่งในระหว่างที่สร้างบารมี พระองค์ก็ทรงปฏิบัติตามหลักการนี้มาก่อนเช่นกัน ดังนั้นไม่ว่า
ผู้ฟังจะอยู่ในสถานภาพใด หรือพระองค์จะทรงเทศนาแตกต่างกันไปอย่างไร ก็ยังทรงใช้หลักการเดียวกัน เช่น
ถ้าผู้ฟังเป็นฆราวาส พระองค์ก็แนะนำให้สั่งสมบุญบารมีด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา ซึ่งเป็น
พื้นฐานของการสั่งสมบุญบารมี แต่สำหรับพระภิกษุสาวกผู้ต้องการความหลุดพ้น พระองค์จะทรงกวดขัน
แนะนำ ให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ด้วยการให้ศึกษาใน อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา
1 ข้อที่จะต้องศึกษา หรือข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี 3 เรื่อง ได้แก่ การฝึกอบรมในเรื่องศีล จิต และปัญญา เรียกว่า
ไตรสิกขา
บทที่ 1 การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา
DOU 5