ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากพระดำรัสดังกล่าวทำให้ทราบว่า เหตุที่ทำให้เรามีความเข้าใจที่ลึกซึ้งในเรื่องที่ได้ศึกษา ก็คือ
การปฏิบัติตามหลักธรรม 4 ประการ คือ
1. การคบสัตบุรุษ หมายถึงการหมั่นเข้าหาคนดี มีคุณธรรม มีปัญญา ซึ่งในที่นี้หมายถึง การ
“หาครูดี” ให้พบ
การมีครูที่ดี ย่อมทำให้เรามีความก้าวหน้าในการศึกษาได้เป็นอย่างดี เพราะครูจะเป็นผู้ที่คอยชี้แนะ
แนวทาง รวมทั้งให้คำแนะนำสั่งสอน เพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องดีงาม ครูเป็นผู้ช่วยแก้ปัญญาคลายความสงสัย
ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการศึกษา ทำให้เรามีความก้าวหน้า สามารถพัฒนาความรู้และพัฒนาคุณธรรมจาก
การฝึกฝนอบรมตนเองได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งครูยังเป็นต้นแบบในการทำความดีต่างๆ เป็นผู้คอยให้กำลังใจ
และสนับสนุนให้เราประสบความสำเร็จในการศึกษา
การได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ที่ฝึกตัวมาดีจึงมีความสำคัญต่อการฝึกฝนอบรมตนเองมาก ดังเช่น
ในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงเห็นความสำคัญของการมีครูบาอาจารย์มาช่วยอบรมสั่งสอน
จึงทรงบัญญัติให้พระนวกะ คือ พระผู้บวชใหม่ที่ยังไม่ได้ 5 พรรษา ต้องมีพระอุปัชฌาย์คอยอบรมสั่งสอน
ให้การดูแลอย่างใกล้ชิด ที่เรียกว่า “การถือนิสัย” คือ ขอให้พระอุปัชฌาย์เป็นที่พึ่งที่อาศัยของตน ทำหน้าที่
ปกครองสั่งสอน ให้คำแนะนำในข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เพื่อการเป็นพระภิกษุที่ดี
การแสวงหาครูบาอาจารย์ที่ดีจึงมีความสำคัญดังที่กล่าวมาแล้ว และเมื่อได้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์
ที่ดี เราก็ต้องหมั่นเข้าไปหาสอบถามธรรมะข้อควรปฏิบัติต่างๆ มีความเอาใจใส่ต่อการศึกษาเล่าเรียน ดังที่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในปัญญาวุฑฒิธรรมข้อที่ 2 คือ
2. การฟังพระสัทธรรม ในที่นี้หมายถึงการ “เชื่อฟังคำสอนของครู” เพราะเมื่อพบครูที่ดีแล้ว ก็
ต้องหมั่นเข้าไปใกล้ เพื่อจะได้ฟังธรรม เมื่อฟังแล้วต้องสรุปให้ได้ว่าสิ่งที่ครูสอนมานั้นคือ “อะไร (What)”
เพื่อที่ความเข้าจะได้ถูกต้องตรงทาง
การเข้าไปฟังคำสอนของครูต้องทำด้วยความเคารพ เอาใจใส่ต่อการศึกษานั้น แสดงความพร้อม
ที่จะรับฟังคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ท่านจะได้เกิดความเมตตา ผู้เรียนเองก็จะได้ประโยชน์จากการ
ศึกษาอย่างเต็มที่ และสำหรับการเป็นผู้เรียนที่ดี จำเป็นต้องมีคุณสมบัติเหล่านี้ คือ
1. ไม่ดูแคลนหัวข้อธรรมที่ท่านแสดงว่าง่ายเกินไป
2. ไม่ดูแคลนความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม
3. ไม่ดูแคลนว่าตนเองโง่จนไม่สามารถรองรับธรรมได้
4. มีใจเป็นสมาธิขณะฟังธรรม
5. มีโยนิโสมนสิการ พิจารณาโดยแยบคาย คือ จับแง่คิดเป็น
บทที่ 3 ขั้ น ต อ น ที่ 1 ธั ม มั ญ ญ DOU 63