ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.1.1 อานิสงส์ที่ได้จากการฝึกตามธัมมัญญูสูตร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสยืนยันไว้ว่า หากพระภิกษุฝึกตามวิธีการที่เป็นขั้นเป็นตอนเหล่านี้ได้ ก็จะ
ได้รับอานิสงส์อันยิ่งใหญ่ 5 ประการ คือ
1. เป็นผู้ควรของคำนับ
2. เป็นผู้ควรของต้อนรับ
3. เป็นผู้ควรของทำบุญ
4. เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี
5. เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า”
สมดังที่พระองค์ตรัสไว้ในตอนต้นพระสูตรว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 7 ประการ เป็นผู้ควร
ของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำ
อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ธรรม 7 ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น
ธัมมัญญู รู้จักธรรม 1 อัตถัญญู รู้จักอรรถ 1 อัตตัญญู รู้จักตน 1 มัตตัญญู
รู้จักประมาณ 1 กาลัญญู รู้จักกาล 1 ปริสัญญู รู้จักบริษัท 1 บุคคลปโรปรัญญ
รู้จักเลือกคบคน 1”
จากอานิสงส์ทั้ง 5 นั้น มีความหมายดังนี้ คือ
1. เป็นผู้ควรของคำนับ (อาหุเนยโย) หมายถึง พระภิกษุผู้ฝึกตามธัมมัญญูสูตรได้ ย่อมเป็นบุคคล
ที่ควรแก่การเคารพสักการะ ดังนั้นหากใครได้พบท่าน ณ ที่ไหน ก็ควรรีบได้นำจตุปัจจัยที่ประณีตเหมาะสม
มาสักการะ คือถวายบำรุงท่านให้ได้รับความสุขความสะดวกพอสมควร เพื่อที่ท่านจะได้เมตตาชี้แนะอบรม
สั่งสอนให้
2. เป็นผู้ควรของต้อนรับ (ปาหุเนยโย) หมายถึง ท่านเป็นผู้ควรต้อนรับยิ่งกว่าแขกผู้ยิ่งใหญ่
ทั้งหลาย ที่นั่ง ข้าว น้ำ อาหาร และความสะดวกสบายใดๆ ที่ควรแก่ท่าน ก็ต้องรีบจัดหามาต้อนรับ
เพราะถือว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะได้บุญใหญ่ และเป็นเหตุให้ได้ฟังธรรมจากท่านด้วย
3. เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ (ทักขิเณยโย) หมายถึง ท่านเป็นผู้ควรอย่างยิ่งที่จะรับของที่เราเตรียม
บ ท ที่ 3 ขั้ น ต อ น ที่ 1 ธั ม มั ญ ญ
DOU 55