หลักการรับปัจจัย 4 และความสันโดษ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 144
หน้าที่ 144 / 252

สรุปเนื้อหา

หลักการรับปัจจัย 4 จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าชี้ให้เห็นความสำคัญของความสันโดษ โดยพระมหากัสสปเป็นตัวอย่างที่แสดงถึงการยินดีในปัจจัยต่างๆ ตามเหตุปัจจัย ชี้แนะแนวทางการรับปัจจัยอย่างมีสติและเห็นโทษของการแสวงหาสิ่งที่ไม่จำเป็น พร้อมคำอธิบายถึงสามประเภทของความสันโดษ และวิธีการพิจารณาก่อนการรับปัจจัย 4 อย่างมีเหตุผล

หัวข้อประเด็น

-หลักการรับปัจจัย 4
-ความสันโดษ
-ประเภทความสันโดษ
-วิธีฝึกรับปัจจัย 4

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6.8.3 หลักการรับปัจจัย 4 หลักในการรับปัจจัย 4 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้หลักว่า พระภิกษุควรจะยินดีปัจจัยตามมีตาม ได้ หรือเป็นผู้มีความสันโดษในปัจจัย 4 ดังที่พระองค์ทรงสรรเสริญพระมหากัสสปเถระไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และเป็น ผู้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ถึงการ แสวงหาอันไม่ควรเพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง ครั้นได้จีวรแล้ว ก็ไม่ยินดี ไม่ติดใจ ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ย่อม ใช้สอย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปนี้เป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้... ด้วยเสนาสนะตามมีตามได้... ด้วยเภสัชบริขารซึ่งเป็นปัจจัยแห่งคนไข้ตาม มีตามได้...”1 ความสันโดษดังพุทธพจน์นั้น หมายถึงสันโดษ 3 อย่าง คือ 1. ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ หมายถึง เมื่อได้ปัจจัย 4 ใดมาด้วยความเพียรของตนเอง ก็ พอใจบริโภคเท่าที่มีในสิ่งนั้น 2. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง หมายถึง พอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกาย สุขภาพและขอบเขต การใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย พร้อมที่จะสละแก่ผู้ที่ต้องการได้มากกว่าตน 3. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร หมายถึง พอใจในปัจจัย 4 ที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ และ สมณสารูปของตนเอง ของใดไม่เหมาะสมกับตน เช่น มีความประณีตมากเกินไป เหมาะกับพระเถระผู้มี คุณธรรมสูง ก็นำไปถวายให้ท่านได้ใช้สอย 6.8.4 วิธีฝึกรับปัจจัย 4 ในการรับปัจจัย 4 มีข้อพึงพิจารณาก่อนรับดังนี้ 1. การรับปัจจัย 4 นั้น เป็นเพราะความ “จำเป็น” หรือความ “ต้องการ” หรือเพราะความ “อยากได้” 1.1 ความจําเป็น (Need) ในที่นี้หมายถึงปัจจัย 4 นั้นเป็นสิ่งที่ต้องได้มา หากไม่ได้ จะกระทบ 'สันตุฏฐสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ) ข้อ 462 หน้า 538 ภาวนาวิริยคุณพระ (เผด็จ ทตตชีโว), พระแท้, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมกาย, 2540), หน้า 176 บทที่ 6 ขั้ น ต อ น ที่ 4 มัตตัญญู DOU 133
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More