การควบคุมใจในพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 30
หน้าที่ 30 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการฝึกควบคุมจิตใจเพื่อให้หลุดพ้นจากกิเลสโดยอธิบดีศีล อธิจิต และอธิปัญญา โดยเชื่อว่าการฝึกในทุกวันสามารถนำไปใช้ได้ทั้งพระภิกษุและฆราวาส และการสร้างสมาธิและปัญญาจะช่วยลดละความเป็นไปของใจที่ติดอยู่ การศึกษาในอธิปัญญาจะนำไปสู่การบรรลุนิพพานตามที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เทศนาไว้

หัวข้อประเด็น

-การควบคุมใจ
-การฝึกปฏิบัติ
-อธิปัญญา
-การบรรลุนิพพาน
-ความสัมพันธ์ระหว่างพระภิกษุและฆราวาส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เครื่องควบคุม “ใจ” ไม่ให้คิดไปในทางชั่ว หรือไปในทางอกุศลทั้งหลาย ซึ่งจะทำให้ใจมีความใส สะอาด บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสที่หมักหมมอยู่ในใจ การศึกษาในอธิปัญญา ก็คือการอบรมตนเองจนมีความรู้แจ้งตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิด มาจากผลของการฝึกอบรม กาย วาจา ใจ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ ความรู้แจ้งนี้จะเป็นเครื่องกำจัดกิเลส และ ความไม่รู้ที่อยู่ในใจ (อวิชชา) ให้บรรเทาเบาบาง จนกระทั่งหมดสิ้นไป ก็จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ได้ในที่สุด ดังที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนาในเรื่องนี้ไว้ว่า “สีลปริภาวิโต สมาธิมหปฺผโล สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปุผลา โหติ มหานิสสา ศีลเจริญขึ้นแล้ว มีสมาธิเป็นอานิสงส์ สมาธิเจริญขึ้นแล้ว มีปัญญาเป็นผลอานิสงส์ ปัญญาเมื่อเจริญ ปญฺญาปริภาวิต จิตต์ สมุมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ ขึ้นแล้ว อบรมจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย” ดังนั้น ขั้นตอนและวิธีการฝึกจากแม่บททั้งสอง คือ คุณกโมคคัลลานสูตรและธัมมัญญูสูตร แท้ที่จริงก็คือขั้นตอนและวิธีฝึกปฏิบัติตามอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ที่จะช่วยขัดเกลา กาย วาจา ใจ ของ พระภิกษุ ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสนั่นเอง ทาน ศีล ภาวนา คือการฝึกในชีวิตประจำวัน สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือน แม้จะมีสถานภาพแตกต่างจากพระภิกษุออกไป และเป้าหมายของชีวิต ส่วนใหญ่ยังคงเป็นเป้าหมายในระดับที่ 1 และ 2 (เป้าหมายบนดิน และเป้าหมายบนฟ้า) แต่ไม่ว่าจะมี เป้าหมายระดับไหน สุดท้ายก็ต้องฝึกหัดขัดเกลา กาย วาจา ใจ ของตนเองให้บริสุทธิ์เช่นเดียวกัน ดังนั้น การศึกษาพระสูตรแม่บททั้งสองของฆราวาสนั้น จึงอาจจะนำหลักการไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานภาพ เพศภาวะ และวิถีชีวิตของตนเอง ความแตกต่างระหว่างพระภิกษุกับฆราวาสตรงนี้ ทำให้มีข้อจำกัดใน บางอย่าง เช่น วิธีที่ใช้ฝึกอบรมของฆราวาส อาจมีความลึกซึ้งหรือเข้มงวดลดลงไป ทั้งนี้เพราะ มีกิจวัตร กิจกรรม และการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันไปคนละทาง แต่ถึงอย่างไร หากฆราวาสได้นำหลักการจาก พระสูตรแม่บทไปปรับใช้ ก็ย่อมจะได้รับผลที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน เช่นนำวิธีการจากทั้งคณกโมคคัลลานสูตร และธัมมัญญูสูตรมาฝึกปฏิบัติผ่านการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ก็จะสอดคล้องเหมาะสม พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), เรื่อง “การแสดงศีล (สีลุทเทส)”, 3 พฤศจิกายน 2497, หน้า 578 บทที่ 1 การฝึกอบรมใน พระพุทธ ศ า ส น า DOU 19
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More