การบริหารเวลาในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 154
หน้าที่ 154 / 252

สรุปเนื้อหา

การบริหารเวลาเป็นสิ่งสำคัญในพระพุทธศาสนา โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงกิจวัตรที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ การเรียน การสอบถาม การทำความเพียร และการหลีกเร้นเพื่อทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้พระภิกษุสามารถเจริญเพาะบ่มคุณธรรมและก้าวหน้าในทางธรรม โดยนักศึกษาควรเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์และนำหลักการบริหารเวลาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของเวลา
-การบริหารเวลาในพระพุทธศาสนา
-กิจวัตรกิจกรรมทั้ง 4
-แนวทางการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แนวคิด 1. เวลาเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เพราะเมื่อผ่านไปแล้วไม่สามารถจะย้อนกลับคืนมาใหม่ได้ และในขณะที่เวลาผ่านไป ก็มักจะนำเอาโอกาสดีๆ และสิ่งดีๆ ที่ชีวิตควรจะได้ให้หลุด ลอยตามไปด้วย สำหรับพระภิกษุผู้มีเป้าหมายที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งก็เช่น เดียวกัน หากต้องการฝึกฝนคุณธรรมให้ก้าวหน้ามั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป ต้องให้ความสำคัญ กับเรื่องเวลา โดยต้องเรียนรู้ที่จะบริหาร ควบคุม และใช้เวลาในแต่ละวัน ให้เกิด ประโยชน์กับตนเองให้มากที่สุด 2. การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึงการจัดสรรเวลาที่มีจำกัด ไปทำ กิจวัตร กิจกรรมที่มีความสำคัญสูงสุดก่อนเป็นอันดับแรก ในทางพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงกิจวัตรกิจกรรมที่มีความสำคัญยิ่งไว้ 4 ประการ คือ การเรียน การสอบถาม การทำความเพียร และการหลีกเร้นเพื่อทำสมาธิอย่าง ต่อเนื่อง เพราะกิจวัตรทั้ง 4 โดยเฉพาะการเจริญสมาธิภาวนา จะเป็นเหตุให้ พระภิกษุสามารถกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปได้ ดังนั้นไม่ว่าพระภิกษุจะมี ภารกิจประจำวันมากมายเพียงใด ก็ต้องจัดสรรเวลาเพื่อทำกิจวัตรกิจกรรมทั้ง 4 ให้ได้อย่างสม่ำเสมอด้วย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริหารเวลา ว่ามีผลต่อการฝึกฝน อบรมตนเองของพระภิกษุให้เจริญก้าวหน้าโดยตรง 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงความสัมพันธ์ ระหว่างกิจวัตรกิจกรรมทั้ง 4 ประการ ว่า เป็นหัวใจสำคัญที่เกื้อกูลต่อการทำพระนิพพานให้แจ้ง 3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจว่าหลักการบริหารเวลาที่ดี คือการจัดสรรเวลาให้เหมาะสม สำหรับทำกิจวัตรทั้ง 4 นี้ให้สมบูรณ์ 4. เพื่อให้นักศึกษามีแนวทาง ที่จะนำหลักการบริหารเวลาไปปรับใช้กับชีวิตฆราวาส ได้อย่างเหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตทั้งในทางโลก และเพื่อการ สร้างบุญบารมีในทางธรรม บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 143
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More