ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อนั่งอยู่ต่อหน้าพระพุทธองค์แล้วเกิดความกังวลใจ ด้วยเกรงว่าหากตนจะถามคำถามออกไป เกิด
เป็นคำถามไม่ควรถาม หรือหากพระองค์ถามในสิ่งที่ตนเองตอบไม่ได้ ก็เกรงจะเสียหน้า ถูกดูหมิ่น ว่าเป็น
คนเขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกดูหมิ่นแล้วจะทำให้เสื่อมยศ เสื่อมโภคสมบัติ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบความคิดนั้น จึงถามในสิ่งที่พราหมณ์ตอบได้ และเทศนาจนทำให้
โสณทัณฑพราหมณ์เกิดความปีติเลื่อมใส และแสดงตนเป็นอุบาสกถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ในวันถัดมา
พราหมณ์ทูลอาราธนาเพื่อถวายภัตตาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมเหล่าพระสาวก
โสณทัณฑพราหมณ์เข้าไปนั่งในอาสนะที่ต่ำกว่า กราบทูลความประสงค์ของตนว่า
เมื่อเสวยเสร็จ
“หากตนกำลังอยู่ในท่ามกลางชุมนุมชน แล้วลุกจากอาสนะไปกราบพระองค์ ก็เกรงว่าชุมนุมชนนั้น
จะดูหมิ่น การดูหมิ่นนั้นจะทำให้เสื่อมยศ เสื่อมจากโภคสมบัติ เพราะมียศจึงมีโภคสมบัติ จึงขออนุญาตพระองค์
ว่าถ้าในสถานการณ์อย่างนั้น หากตนพนมมือไหว้ขอให้พระองค์เข้าพระทัยว่าเสมือนตนได้ลุกไปกราบพระองค์
หากตนเปลื้องผ้าโพกศีรษะออก ก็เสมือนกับเป็นการน้อมศีรษะไหว้ หากตนกำลังไปในยาน จะลงจากยาน
แล้วกราบพระองค์ ก็เกรงว่าชุมนุมชนนั้นจะดูหมิ่นอีก ดังนั้นตนจะยกปฏิกขึ้น เป็นอาการแทนว่าตนเองลง
จากยาน และจะลดร่มลง แทนการแสดงความเคารพด้วยการน้อมศีรษะไหว้”
จากเรื่องดังกล่าว แม้ว่าพราหมณ์จะมีความเคารพเลื่อมใส แต่เพราะมีชีวิตอยู่ในทางโลก จึงยังคง
ต้องรักษาชื่อเสียงของตนไว้อยู่ดี ซึ่งในที่นี้แม้พราหมณ์จะไม่ได้มีความถือดีกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่กับ
ประชาชนที่เขาปกครองดูแล เรื่องความมีหน้ามีตาก็ยังเป็นเรื่องที่จำเป็น เราจะเห็นว่า เพราะอำนาจความรู้
และอำนาจการปกครองที่พราหมณ์มีนั้น มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของคนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นหากจะกล่าว
ว่าความรู้คืออำนาจก็คงจะไม่ผิดนัก
3) ความถือดีของคฤหบดี
ว่าด้วยทิฏฐิมานะ ความถือดีของคฤหบดี ผู้มีความประสงค์ในโภคทรัพย์ นิยมปัญญา มั่นใจในศิลปะ
ต้องการการงาน มีการงานที่สำเร็จแล้วเป็นที่สุด คฤหบดีเป็นผู้มีทรัพย์เป็นอาวุธ จึงถือดีในทรัพย์สินที่มีนั้น
ซึ่งการใช้ทรัพย์มีด้วยกัน 2 ทางคือ หากใช้ถูกทางด้วยการให้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ต่อตนเอง
และพระพุทธศาสนา แต่หากหวงแหนไว้ ทรัพย์นั้นก็ไม่เป็นประโยชน์แก่ใครๆ เลย สำหรับในเรื่องนี้ มีตัวอย่าง
ของ โกสิยเศรษฐี ผู้มีความตระหนี่ ดังนี้
ในสมัยหนึ่ง มีเศรษฐีชื่อโกสิยะ ผู้มีความตระหนี่ มีสมบัติ 80 โกฏิ อาศัยอยู่ในสักกรนิคม ไม่ไกล
ยาน หมายถึง เครื่องนำไป พาหนะต่างๆ เช่น รถ เรือ เกวียน เป็นต้น
เรียบเรียงจาก “เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่”, อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 41 หน้า 49
บท ที่ 8 ขั้ น ต อ น ที่ 6 ปริสัญญู DOU 177