พระปาฏิโมกข์และความสำรวมระวัง SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 37
หน้าที่ 37 / 252

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ การถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร, การมีปรกติเห็นภัยในโทษเล็กน้อย, และการสมาทานศึกษาในสิกขาบท ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเพื่อหลุดพ้นจากทุกข์.

หัวข้อประเด็น

-การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์
-องค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติ
-อาจาระและมรรยาทในพระพุทธศาสนา
-การศึกษาสิกขาบท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ 2. คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย 3. รู้จักประมาณในโภชนะ 4. ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ 5. ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ 6. เสพเสนาสนะอันสงัด 2.3.1 ขั้นตอนที่ 1 “สำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์” ในขั้นตอนที่ 1 นี้ พระองค์ทรงแนะนำแก่พระภิกษุว่า “ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร ถึง พร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด” คำว่า “การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์” หมายถึง “เจตนาในการสำรวมระวังตนให้ประพฤติ ดีงาม ทั้งทางกาย และวาจา เพื่อตนจะได้พ้นทุกข์” สำหรับวิธีปฏิบัติ เพื่อการสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1) ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร 2) มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย 3) สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1) ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร คำว่า “อาจาระ” เป็นคำในพระพุทธศาสนา บางครั้งก็เรียกว่า “มรรยาท” หรือ “มารยาท” แบ่ง ออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ อาจาระที่ดี คือ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและทางวาจา นั่นคือ การสำรวมระวังในศีลทั้งหลาย รวมไปถึงการนุ่งห่มที่เรียบร้อย มีอากัปกิริยาท่าทางที่สงบสำรวม ดูแล้วน่าเลื่อมใส มีความเคารพยำเกรง ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระภิกษุผู้มีพรรษามากกว่า 26 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More