ข้อความต้นฉบับในหน้า
ความรู้คำแนะนำตามธรรมชาติของผู้ฟังว่าสนใจในเรื่องใดได้อย่างเหมาะสมรวมถึงมีเกณฑ์ในการเลือกธรรมะ
สำหรับสนทนาตามธรรมชาติผู้ฟัง เป็นต้น
พระภิกษุผู้มีความเข้าใจธรรมชาติของผู้ฟังแต่ละประเภท ย่อมจะเข้าใจในอัธยาศัยของผู้ฟังเป็น
อย่างดี ทำให้มีโอกาสพูดคุย สนทนา จนเกิดความเข้าใจในธรรมะ อยากที่จะปฏิบัติตาม จึงเหมือนเป็นการเปิด
หนทางไปสู่สวรรค์ และพระนิพพาน ดังเช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเข้าใจในธรรมชาติของผู้ฟัง
ทรงใคร่ครวญถึงธรรม เพื่อที่จะแสดงธรรมเป็นครั้งแรกว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยก็
มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้
มีอาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้
ได้ยากก็มี บางพวกมีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก”
จากพุทธพจน์ที่กล่าวมา ย่อมชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติของผู้ฟังที่มีความแตกต่างกัน สามารถจัดประเภท
ตามความพร้อมที่จะบรรลุธรรมของผู้ฟัง เปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของดอกบัว” ได้ 4 ประเภท คือ
1. “อุคฆติตัญญู” คือ บุคคลที่จะบรรลุธรรม เพียงท่านยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดง เปรียบเหมือน
ดอกบัวที่จะบานในวันนี้
2. “วิปจิตัญญู” คือ บุคคลที่จะบรรลุธรรม เมื่อท่านจำแนกอธิบายเนื้อหาธรรมะที่กล่าวโดย
ย่อ ให้ขยายความออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่จะบานในวันพรุ่งนี้
3. “เนยยะ” คือ บุคคลที่จะบรรลุธรรม เมื่อท่านได้แนะนำ หมั่นอธิบาย หมั่นตอบข้อสงสัย
หมั่นใส่ใจธรรมโดยแยบคาย หมั่นคบหา เข้าไปนั่งใกล้กัลยาณมิตรเสมอๆ เปรียบเหมือนดอกบัวที่จะบานใน
วันต่อๆ ไป
4. “ปทปรมะ” คือ บุคคลที่แม้จะฟังมากก็ดี ทรงจำได้มากก็ดี หรือท่านจะกล่าวสอนมากก็ดี
ให้ผู้อื่นสอนมากก็ดี ก็ยังไม่สามารถบรรลุธรรมในชาตินี้ได้ เปรียบเหมือนดอกบัวใต้น้ำ ที่จะเป็นอาหารของ
ปลาและเต่า
ธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนั้น ย่อมจะบังเกิดประโยชน์เกื้อกูลในชาติปัจจุบันแก่คน 3
ประเภทแรก ส่วนประเภทปทปรมะนั้นจะกลายเป็นวาสนา เป็นบุญบารมีติดตัว อันจะเป็นประโยชน์ต่อไป
ในภพเบื้องหน้า
ปาสรา สูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 18 ข้อ 323 หน้า 421
อายาจนสูตร, อรรถกถา สังยุตตนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 25 หน้า 124
บทที่ 9 ขั้ น ต อ น ที่ 7 บุคคล ปโร ปรัญญู DOU 191