การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 31
หน้าที่ 31 / 252

สรุปเนื้อหา

บทนี้เน้นการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ที่ฆราวาสสามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำทาน, รักษาศีล, และการเจริญสมาธิ เพื่อควบคุมและกำจัดกิเลส 'โลภะ', 'โทสะ', และ 'โมหะ' โดยมีแนวทางการปฏิบัติใกล้เคียงกับพระภิกษุ ผลที่ได้จะคล้ายกัน ในตอนท้ายของบทต้องทำการประเมินตนเองหลังจากเรียนบทที่ 1.

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
-วิธีการกำจัดกิเลส
-การทำทานและรักษาศีล
-การฝึกสมาธิภาวนา
-การประเมินตนเองหลังการเรียนบทที่ 1

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กับวิถีชีวิตของฆราวาสมากกว่าวิธีอื่นใด เพราะสามารถปฏิบัติด้วยตนเองได้เป็นประจำทุกๆ วัน โดยการฝึกทำทาน ไม่ว่าจะด้วย กาย วาจา หรือใจ เช่น หาโอกาสใส่บาตรพระทุกเช้า ก็เพื่อให้ เราได้กําจัดกิเลส “โลภะ” การฝึกรักษาศีล เช่น ศีล 5 หรือศีล 8 เพื่อควบคุมกาย วาจาไม่ให้ไปเบียดเบียนทำร้ายใคร ก็เพื่อ ใช้กำจัดกิเลส “โทสะ” การฝึกเจริญสมาธิภาวนา เพื่อควบคุมใจและทำให้เกิดปัญญา ก็เพื่อใช้กำจัดกิเลส “โมหะ” การฝึกเพื่อให้กิเลสค่อยๆ หมดไปเช่นนี้ แม้จะมีวิธีการแตกต่างจากพระภิกษุไปบ้าง แต่ก็อาศัย หลักการเดียวกันกับที่พระภิกษุศึกษาผ่านอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา เพื่อทำให้กาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ผ่องใส ผลที่ได้รับจะคล้ายกับที่พระภิกษุฝึกได้เหมือนกัน ส่วนรายละเอียดอื่นๆ นั้น นักศึกษาจะได้ศึกษาในบท ต่อๆ ไป กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 1 การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 1 และกิจกรรม ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 1 แล้วจึงศึกษาบทที่ 2 ต่อไป 20 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More