ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระบรมศาสดา หยุดนั่นแหละถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของทางพุทธ
ศาสนา ถ้าไม่หยุดละก็ เลอะละ แต่ถ้าพอหยุดได้แล้ว ก็อย่าออกจากหยุด
หนา กลางของกลางที่หยุดนั้นแหละ กลางของกลางหนักเข้าไป อย่าถอย
ออก ถ้าถอยออกผิดความประสงค์ กลางของกลางเข้าไปนั่นแหละ ตั้งแต่
ต้นจนถึงพระอรหัต ไม่ให้คลาดเคลื่อนความหยุดอันนี้
จากเรื่องราวข้างต้นจะเห็นว่า คำๆ เดียวกัน อาจมีความหมายได้หลายระดับด้วยกัน ฉะนั้นการ
เข้าใจในนัยที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้นำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
4.4.2 ผลดีของการเข้าใจนัยถูก
การเข้าใจนัยหรือความหมายถูกมีผลเป็นอย่างมาก เพราะจะนำไปสู่การปฏิบัติฝึกฝนอบรมตนเอง
ที่ถูกต้อง ซึ่งการปฏิบัติที่ถูกต้องจะทำให้คุณธรรมภายในเจริญก้าวหน้าขึ้นมา
เนื่องจากธรรมะมีหลายนัยดังที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นเมื่อได้ศึกษา ก็เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่เข้าใจ
นัยทั้งหมด หรือบางครั้งก็อาจเข้าใจแต่เพียงบางส่วน เมื่อเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้างอย่างนั้น การนำไปฝึกฝน
ตนเองก็อาจไม่ถูกต้อง เมื่อไม่ถูกต้อง ผลจากการปฏิบัติที่ได้ก็อาจเร็วช้าต่างกันไป เหมือนดังเรื่องของพระโสณ
โกฬิวิสะผู้มีความเพียรกล้า แต่ไม่สามารถบรรลุธรรมได้เพราะปฏิบัติด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องต่อเมื่อได้รับคำแนะนำ
จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนเกิดความเข้าใจ ท่านจึงสามารถบรรลุธรรมได้อย่างสบายๆ ภายในเวลาไม่นาน
เรื่องพระโสณโกฬิวิสะ
เมื่อครั้งที่พระโสณโกฬิวิสะพำนักอยู่ ณ ป่าสีตวัน ท่านปรารภความเพียรด้วยการเดินจงกรมมาก
เกินไป จนเท้าทั้ง 2 แตก เลือดไหล ทำให้สถานที่จงกรมมีสภาพคล้ายกับสถานที่ฆ่าโค แต่แม้จะเพียรอย่างไร
ก็ไม่อาจบรรลุธรรมได้ ท่านจึงคิดในใจว่า ในบรรดาผู้ที่มีความเพียรนั้น เราก็เป็นผู้หนึ่งเหมือนกัน แต่ก็ยัง
ไม่อาจบรรลุธรรมได้ อย่ากระนั้นเลย ตระกูลเราก็มีทรัพย์สมบัติมากมาย เราควรจะลาสิกขาออกไป แล้ว
สั่งสมบุญเช่นเดียวกับที่ฆราวาสทำ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบความคิดนั้น จึงเสด็จไปยังที่อยู่ของพระโสณโกฬิวิสะ ทรงตรัสว่า
(พระพุทธเจ้า)
ดูก่อนโสณะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อครั้งเธอยังเป็นฆราวาส
เธอฉลาดในเสียงสายพิณมิใช่หรือ ?
(พระโสณะโกฬิวิสะ) อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า
เรียบเรียงจาก “เศรษฐีบุตรโสณโกฬิวิสะออกบวช”, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 7 ข้อ 2 หน้า 5
76 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา