ข้อความต้นฉบับในหน้า
การฝึกเพื่อพัฒนาคุณธรรมให้เจริญก้าวหน้าของพระภิกษุ จึงต้องอาศัยการฝึกฝนอบรม
ดังนั้น
ผ่านขั้นตอน 4 อย่างนี้ ได้แก่
(1) กิจวัตรประจำวัน
(2) กิจกรรม หรือหน้าที่การงาน
(3) ปัจจัย 4
(4) การบริหารเวลา
หากอุปมาขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 หรือธัมมัญญูถึงมัตตัญญู ว่าเหมือนการใช้ขวานฟันเพื่อโค่นไม้ใหญ่
กาลัญญูก็คงเป็นเหมือนการฟันซ้ำๆ ลงไป โดยทุ่มความพยายามลงไปที่เป้าหมาย และไม่ยอมเสียเวลาไป
กับเรื่องอื่นที่ไม่สำคัญ
ด้วยอาศัยวิธีการฝึกไปตามลำดับอย่างนี้ ย่อมทำให้การฝึกตามขั้นตอนที่มีในคณกโมคคัลลานสูตร
ไม่ว่าจะเป็น (1) การสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ (2) การมีอินทรียสังวร (3) การรู้จักประมาณในโภชนาหาร
(4) การเป็นผู้ตื่นอยู่ (5) การมีสติสัมปชัญญะ และ (6) การเสพเสนาสนะอันสงัด สามารถทำได้ไม่ยาก
จนเกินไปนัก
7.6 การบริหารเวลาให้เป็นกาลัญญูบุคคล
7.6.1 หลักการบริหารเวลา
ในการบริหารเวลา พระภิกษุควรมีความเข้าใจอย่างน้อยที่สุดใน 3 ประเด็นต่อไปนี้
1) การมีทัศนคติในเรื่องเวลาอย่างถูกต้อง คือการเห็นว่าเวลาในชีวิตมีอยู่น้อย ชีวิตมีความ
ไม่แน่นอน และจะต้องรีบใช้เวลาเพื่อการทำความดี ทัศนคติเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญ เพราะจะทำให้พระภิกษุ
ไม่ประมาทในเวลา ใจก็จะจดจ่ออยู่กับการบรรลุเป้าหมายของการบวช รวมกับการมีวินัย คือหมั่นฝึกฝน
อบรมขัดเกลาตนเองอย่างต่อเนื่องเรื่อยไป สักวันหนึ่งย่อมจะได้บรรลุเป้าหมายคือบรรลุมรรคผลนิพพาน
แน่นอน
2) รู้จักลำดับงานสำคัญสูงสุดก่อนหลัง คือการให้ความสำคัญกับทั้ง 4 กาล ได้แก่ การเรียน
การสอบถาม การประกอบความเพียร และการหลีกออกเร้น
3) เลือกทำงานสำคัญในชีวิตก่อน เมื่อไม่ประมาทในเวลา ก็จะเร่งขวนขวายกระทำในกิจที่ควร
156 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา