ข้อความต้นฉบับในหน้า
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพ “บริขาร คือยา” อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้
เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิดแต่อาพาธต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้
ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ และความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้น
เหล่าใดพึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่งอาสวะ
และความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้
พิจารณาเสพอยู่อย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เราตถาคตกล่าวว่า จะพึงละได้เพราะ
การพิจารณาเสพ”
ดังนั้น วิธีการนำปัจจัย 4 มาใช้ฝึกอบรมเพื่อขจัดกิเลสอาสวะในใจ สามารถทำได้โดยการบริโภค
ใช้สอยปัจจัย 4 ให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ เช่น พระภิกษุต้องทราบว่า จีวรที่มีอยู่ ไม่ใช่มีไว้เพื่อสะสม หรือห่ม
เพื่อให้เกิดความสวยงาม แต่ห่มเพื่อป้องกันอันตรายจากความหนาว ความร้อน หรือปกปิดร่างกาย และอวัยวะ
ที่ควรละอาย ส่วนบิณฑบาต ที่อยู่อาศัย หรือยารักษาโรคก็ในทำนองเดียวกัน หากว่าสามารถใช้สอยได้ตรงตาม
วัตถุประสงค์แล้ว ย่อมจะทำให้พระภิกษุได้บริโภคปัจจัย 4 ด้วยความระมัดระวัง สติ สัมปชัญญะก็จะเจริญ
ขึ้นมา ซึ่งการฝึกอย่างนี้ ก่อให้เกิดผลดีอย่างน้อย 2 ประการ คือ
1. ไม่ต้องเสียเวลาบริหารปัจจัย 4 มากเกินไป ทำให้มีโอกาสปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น
2. ใจไม่ยึดติดกับปัจจัย 4 หรือสิ่งนอกตัวมากไป ใจจึงกลับเข้ามาตั้งมั่นภายในตัวได้ง่ายขึ้น
การที่พระภิกษุไม่ติดอกติดใจทั้งในปริมาณ หรือคุณภาพของปัจจัย 4 มากจนเกินไปนัก จะทำให้ใจ
ของท่านไม่ไปติดพันกับสิ่งที่ไม่มีสาระแก่นสารนอกตัวไม่รู้สึกดีใจเมื่อได้รับหรือได้ใช้ปัจจัย 4 และไม่รู้สึกเสียใจ
ที่ไม่มีหรือไม่ได้ใช้ปัจจัย 4 ใจก็คลายจากความห่วงหาอาลัย ไม่ติดอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ใจจะกลับเข้ามาอยู่
ภายในตัว หลังจากนั้น หากพระภิกษุได้ฝึกพิจารณาใช้สอยปัจจัย 4 ตามวัตถุประสงค์อย่างนี้ทุกวันๆ ย่อม
จะเกิดเป็นนิสัยคุ้นกับการนำใจกลับมาตั้งไว้ภายในตัว ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนา ใจก็
จะตั้งมั่น เป็นสมาธิได้ง่าย และสามารถหยุดใจให้นิ่งเข้าสู่ศูนย์กลางกาย คุณธรรมภายในก็จะก้าวหน้าเรื่อยไป
ส่งผลให้ท่านสามารถละกิเลสอาสวะได้ในที่สุด ดังเช่นที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เคยแสดงพระ
ธรรมเทศนาไว้เกี่ยวกับเรื่องการปล่อยอารมณ์ว่า
'กิเลสที่หมักหมม หรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ
"สัพพาสวสังวรสูตร, มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 ข้อ 14 หน้า 143
บทที่ 6 ขั้ น ต อ น ที่ 4 มัตตัญญู DOU 127