แนวทางการเรียนรู้ธรรมะตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 168
หน้าที่ 168 / 252

สรุปเนื้อหา

ในการเรียนรู้ธรรมะนั้น การฟังจากครูบาอาจารย์เป็นสิ่งสำคัญ พระภิกษุต้องมีศรัทธา เข้าใกล้ครู สอบถาม และฟังธรรม เพื่อที่จะพิจารณาและปฏิบัติตามหลักคำสอนที่ถูกต้อง การปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องและลึกซึ้งในธรรมะและความสุขที่แท้จริง พระนิพพาน เป็นสิ่งที่ปราศจากความโศกและกิเลส จึงเป็นหนทางสู่ความสุขที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

- แนวทางการเรียนรู้ธรรมะ
- คำสอนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
- ความสำคัญของการฟังธรรม
- ศรัทธาและปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทำ เหมือนกับที่ท่านพระหาริตเถระให้โอวาทกับพระภิกษุว่า “ผู้ใดมุ่งจะทำงานที่ควรทำก่อนไพล่ไปทำในภายหลัง ผู้นั้นย่อมพลาดจาก ฐานะ อันนำมาซึ่งความสุข และย่อมเดือดร้อนในภายหลัง งานใดควรทำ ก็พึงพูดถึงแต่งานนั้นเถิด งานใดไม่ควรทำ ก็ไม่ควรพูดถึงงานนั้น คนไม่ทำมี แต่พูด บัณฑิตทั้งหลายก็รู้ทัน พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง แสดงแล้ว เป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี คือกิเลส เป็น ธรรมเกษม เป็นที่ดับทุกข์” 7.6.2 แนวทางปฏิบัติตามกาลทั้ง 4 1) การเรียน แม้การเรียนรู้ธรรมะจะสามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น อ่านจากตำรับตำรา หรือ ค้นคว้าด้วยตนเอง แต่หากต้องการความเข้าใจที่ลึกซึ้ง คงหนีไม่พ้นต้องอาศัยการฟังจากครูบาอาจารย์ โดยมี หลักการที่พระภิกษุสามารถนำมาเป็นแนวทางในการเรียนให้ได้ผลดี คือ 1.1) อาศัยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสแก่พระปุณณิยะ” ถึงวิธีการเรียนธรรมะให้ แจ่มแจ้ง ซึ่งมีลำดับขั้นตอนต่อเนื่องดังนี้ 1. ภิกษุต้องเป็นผู้มีศรัทธา 2. ต้องเข้าไปหา 3. ต้องเข้าไปนั่งใกล้ 4. ต้องสอบถาม 5. ต้องเงี่ยโสตลงสดับธรรม 6. ต้องฟังแล้วทรงจำไว้ 7. ต้องพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ 8. ต้องรู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้นธรรมเทศนาของตถาคต ย่อมแจ่มแจ้ง หาริตเถรคาถา, ขุททกนิกาย เถรคาถา, มก. เล่ม 51 ข้อ 321 หน้า 319 เรียบเรียงจาก ปุณณิยสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 188 หน้า 671 บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 157
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More