ข้อความต้นฉบับในหน้า
เป็นต้น เมื่อเราฝึกปฏิบัติสมาธิเข้าถึงกายไหน ปัญญาของเราก็จะยิ่งกว้างขวางมากมาย เท่าทันกับสังขาร
ของกายแต่ละกายนั้นไปด้วย
5.6.6 ประเมินด้วย “ปฏิภาณ”
การประเมินด้วยปฏิภาณ หรือการโต้ตอบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งพระภิกษุและฆราวาส สามารถ
ประเมินโดยอาศัยแนวทางนี้ คือ
ประเมินจาก “ความสามารถในการแก้ปัญหาผ่านการทำงาน” เพราะการทำงานมักจะต้องพบกับ
ปัญหา คนมีปฏิภาณจะเป็นคนไม่หนีปัญหา แต่จะสู้โดยอาศัยปัญญา และการแก้ปัญหาต้องอยู่ในเส้นทางธรรม
คือ ไม่แก้ปัญหาโดยการทำบาป เป็นต้น
5.7 การประเมินเปรียบเทียบ
พระภิกษุผู้รู้จักประเมินคุณธรรมในตนได้ย่อมจะรู้จักตนเองดีว่ามีคุณธรรมอยู่มากน้อยเพียงใดทำให้
ไม่ประมาทในการใช้ชีวิต และไม่หลงใหลได้ปลื้มไปกับคุณธรรมที่ตนเองมี พระภิกษุที่รู้จักตนเองอย่างนี้
มีแต่จะเร่งขวนขวาย และพยายามฝึกฝนตนเองให้บรรลุเป้าหมายของการบวชให้ได้เร็วที่สุด
ในระหว่างการฝึกฝนอบรมตนเองอยู่นั้น พระภิกษุอาจอาศัยเปรียบเทียบคุณธรรมของตนเองกับ
ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า เพื่อที่ว่าจะได้อาศัยท่านเป็นหลักชัย เพื่อให้คุณธรรมของตนเองก้าวหน้าเข้าไปใกล้ท่าน
ให้ได้มากที่สุด วิธีการนี้ เหมือนกับที่พระอานนท์ได้กล่าวไว้ ว่า “บุคคลพึงอาศัยมานะละมานะเสีย” ซึ่ง
หมายความว่า เมื่อเห็นผู้อื่นสามารถบรรลุมรรคผลนิพพานได้ ก็นำมาเปรียบเทียบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
ให้กับตนเอง ว่าในเมื่อท่านเหล่านั้นทำได้ เราเองก็เป็นมนุษย์ มีมือมีเท้าเช่นเดียวกับท่าน ทำไมเราถึงจะทำ
ความเพียรให้บรรลุตามอย่างนั้นไม่ได้เล่า ซึ่งบุคคลที่เราควรเปรียบเทียบเพื่อให้เกิดกำลังใจ ได้แก่
1. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีคุณธรรมสูงกว่าเรามากมาย จะได้ไม่หลงติดอยู่ในคุณธรรมเพียง
เล็กน้อยที่เรามี
2. พระอรหันตสาวกทั้งหลาย ซึ่งสามารถศึกษาประวัติอันดีงาม และความเพียรพยายามของท่าน
เพื่อจะนำมาเป็นแบบอย่างให้กับตนเอง
3. ครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ
4. อุปัชฌาย์อาจารย์ที่มีคุณธรรรม เพื่อจะได้อาศัยท่านเป็นต้นแบบในการปฏิบัติขัดเกลาตนเอง
"ภิกขุนีสูตร, อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต, มก. เล่ม 35 ข้อ 159 หน้า 378
110 DOU แม่บทการฝึกอบรม ในพระ
ระ พุ ท ธ ศ า ส นา