ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากพุทธพจน์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า ปัจจัย 4 เป็นเหตุให้กิเลสตัณหา คือความอยากได้ อยากมี
ในตัวของพระภิกษุกำเริบขึ้นมาได้ ดังนั้นหากพระภิกษุไม่ระมัดระวัง มัวไปเพลิดเพลิน ติดใจ พอใจ หรือหลงยินดี
โลภอยากได้ในปัจจัย 4 บ่อยๆ มากเกินไป ในที่สุดก็จะพัฒนากลายมาเป็นนิสัยที่ไม่ดี แนวโน้มที่จะคิดไม่ดี
พูดไม่ดี และทำไม่ดีจะมีมากขึ้น คุณธรรมที่เคยมีมากมายเท่าไร ก็จะลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ
ในทางพระวินัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุที่บวชใหม่ต้องถือนิสัย ใน
พระอุปัชฌาย์อย่างน้อยนาน 5 ปี ทั้งนี้เพื่อที่จะได้มีโอกาสรับการอบรมสั่งสอน ได้ความรู้ในทางธรรม
อีกทั้งยังจะได้สังเกตซึมซับนิสัย และเรียนรู้วิธีการบริหารปัจจัย 4 มาจากท่านด้วย
นิสัยดีๆ ที่เกิดจากการบริหารปัจจัย 4 ได้ดี จะเป็นพื้นฐานให้ความคิด คำพูด การกระทำใน
เรื่องอื่นๆ ดีตามมา ยิ่งพระภิกษุอาศัยปัจจัย 4 มาใช้ฝึกฝนตนเองจนเกิดเป็นนิสัยดีๆ ได้มากเท่าไร คุณธรรม
ความดีงามที่จะเกิดในใจจะยิ่งมากตามขึ้นไปด้วยเท่านั้น
6.5 ทัศนคติเกี่ยวกับปัจจัย 4
จากรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัย 4 ดังที่กล่าวมา พอจะสรุปแนวความเห็นสำคัญในทางพระพุทธ
ศาสนา ที่มีต่อปัจจัย 4 ได้อย่างน้อย 3 ประเด็น คือ
1. ปัจจัย 4 เป็นความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต (Basic Need) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็น
ความสำคัญว่าปัจจัย 4 ทำให้ชีวิตดำรงต่อไปได้ และยังช่วยให้สามารถทำกิจวัตร กิจกรรมที่สำคัญของนักบวช
ได้เป็นปกติ แต่แม้ปัจจัย 4 จะมีความสำคัญเช่นนั้นใช่ว่าพระองค์จะทรงอนุญาตให้ใช้กันตามอำเภอใจ กลับทรง
สอนให้พระภิกษุรู้จักการใช้ปัจจัย 4 ให้ได้ตามวัตถุประสงค์
2. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากจะเน้นเรื่องการใช้ปัจจัย 4 ตามวัตถุประสงค์แล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงกำหนดประเภทและปริมาณทำให้ทรัพยากรตามธรรมชาติถูกนำมาใช้เท่าที่จำเป็น
จึงเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่เห็นได้อย่างชัดเจนอีกทางหนึ่ง เช่น การที่ทรงกำหนดให้พระภิกษุ
มีจีวรใช้ 3 ผืน ซึ่งแต่ละผืนมีอายุใช้งานนานเป็นปี จึงทำให้ไม่ต้องเปลืองวัสดุที่จะมาทำเป็นจีวรมากเกินจำเป็น
แตกต่างจากฆราวาสทั่วไป ที่มักจะมีเสื้อผ้าไว้ใส่กันหลายๆ ชุด แต่ละชุดยังหลากสีสัน และบางครั้งทั้งที่ยังใช้
กันไม่คุ้มค่า ก็ไปหาซื้อกันมาใหม่ วัสดุจากธรรมชาติที่ต้องนำมาใช้จึงต้องมากตามไปด้วย
อาหารสำหรับพระภิกษุก็ฉันเท่าที่บิณฑบาตมาได้ และหากเกินเวลาเที่ยงวันไปก็ไม่สามารถฉันได้อีก
อาหารที่พระภิกษุฉันในแต่ละวันจึงไม่ได้มากมายอะไร เมื่อเทียบกับฆราวาสที่รับประทานได้ตามใจและสามารถ
รับประทานกันได้ทั้งวัน
'นิสัย หรือนิสสัย หมายถึง การขออยู่ในปกครองของอุปัชฌาย์ หรือขอให้ท่านเป็นที่พึ่งในการศึกษา
บทที่ 6 ขั้ น ต อ น ที่ 4 มัตตัญญู DOU 125