การปฏิบัติตนในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 193
หน้าที่ 193 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้นำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนที่เหมาะสมในพระพุทธศาสนา เน้นการใช้กิริยาวาจาในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเคารพ และเคล็ดลับในการแสดงออกในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การยืน การนั่ง การพูด รวมถึงข้อห้ามที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความสงบเรียบร้อยของจิตใจและการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ข้อปฏิบัติ 5 ประการในการมีปฏิสัมพันธ์กับสาธุชนและการยืนอย่างเหมาะสมมุ่งหวังให้เกิดความสุขสงบและเคารพซึ่งกันและกัน

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติตนในพระพุทธศาสนา
-กิริยาในการฟังธรรม
-แนวทางการยืนที่เหมาะสม
-หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
-การแสดงความเคารพในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

6. เมื่อมีของประณีต ก็ให้ของเศร้าหมอง 7. ให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยความเคารพ 8. ไม่นั่งใกล้เพื่อฟังธรรม 9. เมื่อกล่าวธรรมอยู่เขาก็ไม่ยินดี แต่หากมีลักษณะตรงกันข้าม ก็ทรงแนะนำให้เข้าไป เมื่อเข้าไปแล้ว ยังให้รักษากิริยาอาการที่ดี อีก 5 ประการ คือ 1. อย่าถือวิสาสะกับสาธุชนที่เราไม่คุ้นเคย 2. อย่าบงการ หรือเจ้ากี้เจ้าการให้เขาทำนั่นทำนี่ให้ 3. อย่าคบหากับคนที่ไม่ถูกกับเขา หรือไม่หวังดีกับเขา 4. อย่าพูดกระซิบกระซาบกัน 5. อย่าขอมากเกินไป 2. “ยืน” ประการถัดมา พระองค์ตรัสว่า “จึงยืนอย่างนี้” ซึ่งอาการยืนที่ถูกต้องนั้น ควรเว้นจาก ลักษณะ 6 อย่าง ดังนี้ คือ 1. ไม่ยืนไกลเกินไป เพราะหากต้องพูดก็ทำให้ต้องพูดเสียงดัง 2. ไม่ยืนใกล้เกินไป เพราะจะทำให้อึดอัด เบียดเสียดกันเกินควร 3. ไม่ยืนเหนือลม เพราะอาจเดือดร้อนด้วยกลิ่นตัว 4. ไม่ยืนสูงกว่า เพราะแสดงถึงความไม่เคารพ 5. ไม่ยืนตรงหน้าเกินไป เพราะเวลามอง จะต้องจ้องตาต่อตาดูกันเกินไป 6. ไม่ยืนข้างหลังเกินไป เพราะทำให้ต้องชะเง้อคอดู แท้ที่จริง การยืนในตำแหน่งที่เหมาะสม ก็คือยืนเยื้องๆ ด้านซ้ายหรือขวา ในระยะที่พอเหมาะนั่นเอง กุลปกสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 111 หน้า 250 อรรถกถา โอมตรณสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 หน้า 32 182 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More