ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากเนื้อความนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแยกประเภทคน แบ่งตามพฤติกรรมไว้ 7 ลักษณะ
โดยค่อยๆ แบ่งลักษณะคนออกไปทีละ 2 ส่วนตามลำดับ คือ
1. ต้องการเห็นพระ หรือไม่ต้องการเห็นพระ
2. ต้องการฟังธรรม หรือไม่ต้องการฟังธรรม
3. ตั้งใจฟังธรรม หรือไม่ตั้งใจฟังธรรม
4. ตั้งใจทรงจำธรรม หรือไม่ทรงจำธรรม
5. พิจารณาธรรมที่ทรงจำไว้ หรือไม่พิจารณาธรรมที่ทรงจำไว้
6. ปฏิบัติสมควรแก่ธรรมที่พิจารณาแล้ว หรือไม่ปฏิบัติสมควรแก่ธรรม
7. ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น หรือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน
และผู้อื่นด้วย
ลักษณะทั้ง 7 ประการนี้เอง เป็นเครื่องช่วยบอกพื้นฐานความรู้และสภาพใจของคนฟังแก่พระภิกษุผู้
เข้าไปทำหน้าที่กัลยาณมิตร แนะนำธรรมะให้ กล่าวคือ
(1) บรรดาบุคคลทั้งหลายนั้นสามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วน คือ บุคคลผู้อยากเห็นพระ หรืออยาก
พบพระ กับบุคคลผู้ไม่อยากเห็นพระ ในบุคคลผู้อยากพบพระนั้น อย่างน้อยเขาย่อมพอมีความรู้พื้นฐานใน
พระพุทธศาสนามาบ้างว่า ชีวิตพระกับชีวิตฆราวาสนั้นแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นกิจวัตรประจำวัน การทำมาหา
เลี้ยงชีพ ความความสำเร็จในหน้าที่และการดำเนินชีวิต เป็นต้น ในใจจึงพอจะมีความศรัทธาอยากจะเข้า
มาพบพระอยู่มากกว่าประเภทที่ไม่อยากเห็นพระ
(2) บรรดาผู้ที่อยากเห็นพระยังแบ่งออกได้ 2 ส่วนอีก คือ อยากฟังธรรมะและไม่อยากฟังธรรมะ
บุคคลที่อยากฟังธรรมะ อย่างน้อยๆ เพราะมีความรู้มากขึ้นว่า ชีวิตพระในแต่ละวันนั้น ท่านศึกษาปฏิบัติตัวเอง
ตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ใครๆ และรู้ว่าธรรมะที่ท่านจะแนะนำและเทศน์สอนนั้น จะ
ก่อประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของตัวเอง เพราะเหตุนั้น จึงอยากจะเข้ามาฟังธรรม อยากจะเรียนรู้ ส่วน
บุคคลประเภทอยากเห็นพระ แต่ไม่อยากฟังธรรมะ เช่น อยากพบพระเพราะคิดว่าจะทำให้ตนประสบโชคลาภ
มาพบพระ เพราะเชื่อโชคลาง มาเพื่อผูกดวง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา เป็นต้น กลุ่มคนเหล่านี้ใจไม่สว่าง
เพียงพอ มีความศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าน้อยไป จึงไม่พร้อมที่จะรับฟังธรรมะ
(3) บรรดาผู้ที่อยากฟังธรรมะ ก็แบ่งได้อีก 2 ส่วน คือ ตั้งใจฟังและไม่ตั้งใจฟัง เพราะรู้ว่าธรรมะ
นั้นมีคุณค่ายิ่งกับตนเอง จึงตั้งใจฟัง ไม่ปล่อยให้ใจเลื่อนลอย สนใจในเนื้อหาและถ้อยคำที่พระภิกษุแนะนำ
ส่วนบุคคลผู้ไม่ตั้งใจฟังธรรม แม้จะอยากฟัง แต่ก็จะไม่ได้เนื้อหาสาระแต่อย่างใด เพราะไม่ใส่ใจ หรือบาง
ครั้งขณะฟังก็นั่งหลับ นั่งคุยกัน เป็นต้น
194 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา