การวางตัวแบบฆราวาสในสังคมไทย SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 196
หน้าที่ 196 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการวางตัวของฆราวาสในสังคมไทย โดยยกตัวอย่างการประพฤติตนตามกิริยามารยาทที่เหมาะสม เช่น การแต่งตัวให้เรียบร้อย การรักษาระยะห่างทางสังคม และการเคารพผู้ใหญ่ รวมถึงการศึกษาขนบธรรมเนียมของชาวต่างชาติที่อาจมีผลต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การประพฤติตนอย่างมีมารยาทจะแสดงถึงความเป็นผู้ดีและความน่าเคารพในสังคมไทย

หัวข้อประเด็น

-การวางตัวของฆราวาส
-มารยาทในสังคมไทย
-การแต่งกายตามโอกาส
-กิริยามารยาทที่เหมาะสม
-การศึกษาเกี่ยวกับประเพณีต่างชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมื่อพระภิกษุฝึกได้อย่างนี้แล้ว พระองค์จึงจะทรงรับรองว่า “ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้” 8.8 การวางตัวแบบฆราวาส สำหรับฆราวาส ก็สามารถนำเรื่องราวในสมัยพุทธกาล และพระวินัยของพระภิกษุมาประยุกต์ใช้ ในการวางตัวเข้าหาชุมชนหรือกลุ่มคนได้ แม้ฆราวาสจะมีความแตกต่างกับพระภิกษุมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ศีล หรือวินัย รวมทั้งเรื่องการแต่งกายที่ต่างกัน เช่น พระภิกษุมีผ้าเพียง 3 ผืนเท่านั้น ไปไหนจึงต้องใช้ ผ้าชุดเดียว แต่ฆราวาสมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมากมาย ซึ่งก็ต้องสวมใส่ให้เหมาะสมกับโอกาส ตามวัย และ ตามยุคสมัย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การวางตัวที่เหมาะสมย่อมแสดงถึงการเป็นผู้มีมารยาทอันงามโดยเฉพาะใน สังคมไทย ซึ่งฆราวาสควรจะศึกษาเอาไว้ เพื่อให้ตนเองไม่ว่าจะอยู่ในสังคมไหน ก็ปฏิบัติตนเองได้อย่างงดงาม น่าชื่นชม ยกตัวอย่างคำแนะนำเรื่องกิริยามารยาทจากหนังสือ “สมบัติของผู้ดี” ที่เจ้าพระยาพระเสด็จ สุเรนทราธิบดี (ม.รว.เปีย มาลากุล) ประพันธ์ไว้ มีสิ่งที่น่าสนใจพอสังเขป ดังนี้ “ผู้ดี ย่อมรักษาความเรียบร้อย ทั้งกาย วาจา ใจ เช่น แต่งตัวสะอาด เรียบร้อยเสมอ ไม่แสดง กิริยาตึงตัง ไม่พูดจาเสียงดังในบ้านแขก ไม่แย่งชิงพูด ไม่จามเสียงดังโดยไม่ป้องกำบัง.... ผู้ดี ย่อมมีสัมมาคารวะ ทั้งกาย วาจา ใจ เช่น นั่งด้วยกิริยาอันสุภาพหน้าผู้ใหญ่ เปิดหมวกเมื่อเข้า ชายคาบ้านผู้อื่น ผู้น้อยย่อมเคารพผู้ใหญ่ก่อน ผู้ชายย่อมเคารพผู้หญิงก่อน ผู้ลาย่อมเป็นผู้เคารพก่อน ไม่พูดจากล่าวร้ายถึงญาติมิตรที่รักใคร่นับถือของผู้ฟังแก่ผู้ฟัง เมื่อตนทำพลาดพลั้งสิ่งใด แก่บุคคลใด ควรออกวาจาขอโทษเสมอ นับถือนอบน้อมต่อผู้ใหญ่และมีความอ่อนหวานแก่ผู้น้อย เป็นต้น” จากข้อความข้างต้นเป็นกิริยาอาการที่งดงามเหมาะสมแก่ฆราวาสในการนำมาปฏิบัติในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน ยกตัวอย่างเช่นหากเราจะไปบ้านใครเพื่อทำหน้าที่กัลยาณมิตรก็ควรนัดหมายให้เรียบร้อย ก่อนออกจากบ้านก็สำรวจการแต่งกาย อุปกรณ์ในการทำหน้าที่ ไปถึงก่อนเวลานัดเล็กน้อยสัก 5 นาที ไม่ควรไปรอนานเกินไปเพราะเจ้าของบ้านอาจยังไม่พร้อม หรือไปช้าผิดเวลานัดหมาย จะนั่งก็ดูให้เหมาะสม ตามที่เจ้าของบ้านจัดไว้ให้ไม่นั่งนานเกินควร ไม่ละลาบละล้วงเข้าห้องเรือนก่อนเจ้าของบ้านเชิญไม่ซอกแซก ไต่ถามธุระส่วนตัวหรือเรื่องภายในบ้านของเขาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตน เป็นต้น นี้เป็นมารยาทในสังคมไทยที่ฆราวาสควรประพฤติปฏิบัติ และนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับคนทั้ง 4 กลุ่ม ปัจจุบันแม้จะมีการนำเอาวัฒนธรรมของชาวต่างชาติเข้ามาใช้ เช่นของชาวตะวันตกเข้ามาบ้าง แต่ มารยาทโดยหลักก็ยังคงอยู่ ส่วนการเข้าหาแต่ละบริษัทหรือแต่ละกลุ่มในต่างชาตินั้น ก็คงต้องศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณีเพิ่มเติม บ ท ที่ 8 ขั้ น ต อ น ที่ 6 ปริสัญญู DOU 185
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More