การศึกษาในพระพุทธศาสนา: คันถธุระและวิปัสสนาธุระ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 20
หน้าที่ 20 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาในพระพุทธศาสนา ที่แบ่งเป็นสองรูปแบบคือคันถธุระ (การเรียนรู้ให้เข้าใจพระพุทธวจนะ) และวิปัสสนาธุระ (การปฏิบัติกรรมฐานและการทำสมาธิ) ซึ่งนำมาซึ่งประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น การเรียนรู้และการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ให้ความสำคัญและย้ำเสมอว่าแม้จะมีความรู้ทางธรรมมากเพียงใด แต่ถ้าไม่พัฒนาตนเองด้วยการปฏิบัติ ก็ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ในธรรมจริงๆ.

หัวข้อประเด็น

-การเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา
-การปฏิบัติธรรม
-ความสำคัญของการปฏิบัติเพื่อการเจริญธรรม
-การศึกษาของพระภิกษุ
-การถ่ายทอดธรรมะแก่ผู้อื่น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระจักขุปาล : “พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถ จะบำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้ แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์ ขอ พระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด” ในการศึกษาทั้ง 2 รูปแบบ มีข้อดีแตกต่างกันออกไป คือการเรียนทางปริยัติ หรือคันถธุระ เป็นการ เรียนเพื่อรักษาพุทธวจนะไว้ไม่ให้เสื่อมสูญ ผู้ที่เรียนจนแตกฉานแล้ว นอกจากจะได้นำความรู้นั้นมาเป็น ประโยชน์กับการฝึกฝนอบรมตนเองตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วยังจะได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไป ถ่ายทอด เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย ในขณะที่ผู้ที่เรียนโดยวิธีปฏิบัติ หรือวิปัสสนาธุระ จะมุ่งไปที่การปฏิบัติกรรมฐาน ทำสมาธิภาวนา ฝึกใจ เพื่อกำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไปโดยเร็วพลัน แต่ไม่ว่าจะศึกษาในทางไหน พระภิกษุจักต้องนำความรู้ที่ได้จากทั้งคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ไปปฏิบัติให้เกิดผลกับตนเองอย่างจริงจัง แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญ และให้ความสำคัญกับ การปฏิบัติธรรมยิ่งกว่าสิ่งใด พระองค์ทรงเรียกพระภิกษุผู้เรียนปริยัติมามาก ผู้แสดงธรรมมาก ผู้สาธยาย ธรรมมาก ที่พิจารณาตรึกตรองธรรมมาก แต่มัวปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไป โดยไม่ได้สนใจการเจริญสมาธิภาวนา เลยว่า “ไม่อยู่ในธรรม” ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเรียนธรรมคือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอ ย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจ ในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียน มาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป.... อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป.... อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรม ตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการตรึกตาม ธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ใน ธรรม”2 สุตตะ...เวทัลละ หมายถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปฐมธรรมวิหาริกสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 73 หน้า 168 บทที่ 1 การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา DOU 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More