ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.5 ความสำคัญของธรรม 6 ประการ
การที่พระองค์ทรงให้พระภิกษุใช้ธรรมทั้ง 6 ประการมาประเมินคุณธรรมที่เกิดขึ้นนี้ แสดงให้เห็น
ถึงความจริงที่สำคัญของธรรมทั้ง 6 นี้ อย่างน้อย 3 ประการ คือ
1. ต้องเป็นธรรมที่สามารถใช้ประเมินคุณธรรมที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าพระภิกษุจะฝึกฝนอบรมตนเอง
ด้วยวิธีการไหน หรือมีรายละเอียดในการฝึกแตกต่างกันอย่างไรก็ตาม เช่นพระภิกษุที่ฝึกปฏิบัติกรรมฐาน
ด้วยวิธีอสุภะ อานาปานสติ กสิณ อนุสติ หรือวิธีอื่นใด ผลที่เกิดขึ้นต้องสามารถใช้ธรรม 6 ประการนี้ประเมิน
ได้เสมอ
2. ต้องเป็นธรรมที่สามารถใช้ประเมินคุณธรรมของพระภิกษุได้ครอบคลุมทุกระดับ ตั้งแต่พระภิกษุ
ปุถุชน จนถึงพระอริยเจ้า
3. คุณธรรมสูงสุดที่พระพุทธองค์ทรงมุ่งหมาย คือ การสิ้นกิเลสอาสวะได้บรรลุอรหัตผล ดังนั้น
ธรรมทั้ง 6 ประการที่ใช้ประเมิน ต้องมีความเกี่ยวเนื่องระหว่างกัน โดยต้องมีลักษณะส่งเสริมกันและกันไปสู่
การบรรลุพระอรหันต์ในที่สุด
จากความจริงทั้ง 3 ประการ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธรรมทั้ง 6 ประการ จึงเหมาะสมจะนำมาใช้
เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณธรรมภายในของพระภิกษุได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะหากพิจารณาให้ดี จะเห็น
ว่าธรรมทั้ง 6 ประการ เกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน ในด้านที่ช่วยผลักดันให้คุณธรรมพัฒนาก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป
ซึ่งสามารถอธิบายในภาพรวมได้ดังนี้
1. “ศรัทธา” ความเลื่อมใสศรัทธาเกิดขึ้นมาจากการได้ฟังพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จนกระทั่งเกิดความเข้าใจถูกว่า ชีวิตของตนเองเกิดมาเพื่อสั่งสมบุญบารมี และเป้าหมายสูงสุดของชีวิตนี้คือ
การบรรลุมรรคผลนิพพาน และเพราะการจะบรรลุเป้าหมาย ต้องฝึกฝนอบรมตนเองให้กาย วาจา และใจ
มีความบริสุทธิ์ผ่องใส หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะใดๆ ทั้งปวง ความศรัทธาจึงเป็นจุดตั้งตนให้อยากทำความดี
โดยอาศัยคำสอนของพระพุทธองค์มาเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตของตนเอง
2. “ศีล” หลักปฏิบัติเบื้องต้นตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือการควบคุมกาย และวาจา
ของตนเองให้บริสุทธิ์ ได้แก่การระมัดระวังกาย และวาจา ไม่ให้ไปทำบาปอกุศลทั้งปวง ดังนั้นข้อปฏิบัติใน
ขั้นแรกสำหรับผู้มีศรัทธา ก็คือการรักษาศีลของตนให้มั่นคง
3. “สุตะ” เมื่อรักษาศีลของตนได้ดีแล้ว กาย วาจาที่บริสุทธิ์ จะนำความสุขมาให้แก่ผู้รักษา และ
จะทำให้อยากมีความบริสุทธิ์ทางกายและวาจายิ่งๆ ขึ้นไป เช่น หากรักษาศีล 5 ได้เป็นปกติ ก็จะคิดว่าหากรักษา
104 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา