ข้อความต้นฉบับในหน้า
4. มัตตัญญู
ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญ
อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ
5. กาลัญญู
ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่านี้เป็นกาลเรียนนี้เป็นกาลสอบถาม
นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็น
กาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู แต่เพราะ
ภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น
ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วยประการ
ฉะนี้ ฯ
6. ปริสัญญ
ก็ภิกษุเป็นปริสัญญอย่างไรภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้จักบริษัทว่านี้บริษัทกษัตริย์นี้บริษัทพราหมณ์
นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราจึงเข้าไปหาอย่างนี้ จึงยืนอย่างนี้ จึงทำอย่างนี้ จึงนั่ง
อย่างนี้ จึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่านี้บริษัทกษัตริย์...จึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญ
แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่านี้บริษัทกษัตริย์...จึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นปริสัญญภิกษุเป็นธัมมัญญู
อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ
7. ปุคคลปโรปรัญญู
ก็ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน 2 คือ บุคคล
2 จําพวก คือ
พวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะบุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ
จึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ จึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่
ต้องการเห็นพระอริยะก็มี 2 จำพวก คือ
บทที่ 10 ความสัมพันธ์ของคุณกโมก คัลลานสูตร กับธัมมัญญสูตร DOU 239