การบริหารเวลาในชีวิตตามแนวทางพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 156
หน้าที่ 156 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการบริหารเวลาในชีวิตตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยชี้ให้เห็นถึงการที่ผู้คนมักไม่สนใจเวลาจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อชีวิต โดยมีความจริงเกี่ยวกับเวลาที่ส่งผลต่อชีวิตมนุษย์ 5 ประการ เช่น เวลาไม่สามารถย้อนกลับได้, การเกิดขึ้นและดับไปของชีวิต ฯลฯ นอกจากนี้บทความยังเน้นว่าสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตคือการสั่งสมบุญบารมีเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน ซึ่งเวลาเป็นสิ่งไม่สามารถนำกลับมาได้เต็มที่ ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาตนเองและบริหารชีวิตอย่างมีความหมาย

หัวข้อประเด็น

-การบริหารเวลา
-ความสำคัญของเวลา
-ผลกระทบของเวลา
-การพัฒนาตนเอง
-แนวทางพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7.3 เวลากับชีวิต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงนำเอาเรื่องการบริหารเวลามาตรัสไว้ในขั้นตอนที่ 5 ซึ่งชี้ให้เห็นว่า การฝึก เพื่อให้เป็นผู้รู้จักบริหารเวลาทำได้ยากกว่าขั้นตอนอื่นๆ ที่เคยศึกษาผ่านมา อีกทั้งเวลายังต้องมี ความสำคัญต่อการฝึกฝนอบรมตนเองเพื่อความหลุดพ้นจากอาสวกิเลสด้วย ซึ่งรายละเอียดของการ บริหารเวลา จะได้กล่าวโดยละเอียดต่อไป 7.3.1 ความจริงเกี่ยวกับเวลา คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้เอาใจใส่กับเรื่องของเวลามากนัก และมักจะไม่ได้ให้ความสนใจว่าเวลาจะมามี ผลกระทบต่อชีวิตของตนเองอย่างไร บางคนจึงปล่อยเวลาให้ผ่านไปกับสิ่งที่ไม่ใช่สาระแก่นสารที่แท้จริง ตั้งแต่เกิดมา เราใช้เวลาไปกับการศึกษาเล่าเรียน การบริหารร่างกาย การพูดคุย การนอนหลับ พักผ่อน การทำงาน การเที่ยวเตร่สนุกสนาน ฯลฯ ในแต่ละวันนานหลายชั่วโมง โดยที่ไม่ได้นึกเฉลียวใจเลยว่า ขณะที่เวลาล่วงเลยผ่านไป ก็ได้นำสิ่งที่มีค่า ที่สำคัญต่อการแสวงหาแก่นสารสาระในชีวิต คือการสั่งสม บุญบารมี เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานของเราให้ผ่านไปด้วย มีความจริงเกี่ยวกับเวลา ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะชอบใจหรือไม่ก็ตาม อยู่ อย่างน้อย 5 ประการ คือ 1) เวลาผ่านไปแล้วย่อมผ่านเลย แม้นี้จะเป็นความจริงที่ทุกคนทราบดี แต่กลับไม่ค่อยมีใครได้ สังเกต ว่าทุกวินาทีที่คืบคลานผ่านไป เวลาได้ส่งผลกระทบอะไรกับชีวิตของเราบ้าง 2) นำวัยอันสดใสและความแข็งแรงไป เมื่อเวลาผ่านไป อายุหรือวัยของแต่ละคนก็เพิ่มมากขึ้น ไปตามลำดับ แต่เรามักจะสังเกตไม่เห็น เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะค่อยๆ เป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่ง ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า “สันตติ” คือ การสืบต่อ หรือการเกิดดับต่อเนื่องกันไป ยกตัวอย่างที่ เห็นได้เป็นรูปธรรม เช่น เมื่อผมเส้นหนึ่งหลุดร่วงไป ก็มีผมเส้นใหม่เกิดขึ้นมาแทน หรือเมื่อเซลล์ผิวหนัง หลุดลอกออกไป ก็เกิดเซลล์ใหม่ขึ้นมาแทน เป็นต้น ด้วยลักษณะความสืบต่อที่ต่อเนื่องเช่นนี้ ทำให้คน ส่วนใหญ่ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่จะสังเกตเห็นต่อเมื่อเวลาผ่านไปนานหลายๆ ปี จึงจะสังเกต เห็นกันสักทีว่าวัยเราเปลี่ยนแปลงไป จากวัยทารก มาเป็นเด็กเล็ก จากเด็กเล็กมาเป็นเด็กโต จากเด็กโตเข้าสู่วัยรุ่น จากวัยรุ่นเข้าสู่วัยทำงาน จากวัยทำงานเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ จากวัยผู้ใหญ่เข้าสู่วัยชรา ซึ่ง กว่าจะรู้สึกว่าตนเองเปลี่ยนไป เวลาก็ผ่านไปหลายปี พร้อมกันกับที่ความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย เริ่มเสื่อมถอยลง 3) นำความชรามาให้ ความชราหมายถึง ความแก่หง่อมของร่างกาย ความคร่ำคร่า ความเสื่อม บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More