เรื่องราวของวิฑูฑภะและความถือดีของกลุ่มพราหมณ์ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 187
หน้าที่ 187 / 252

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวของวิฑูฑภะผู้มีผิวพรรณดั่งทองคำที่ถูกดูแคลนโดยเจ้าศากยะ ทำให้เกิดความแค้นที่นำไปสู่วิสัยทัศน์แห่งการแก้แค้นเมื่อเขาได้ขึ้นครองราชย์ ในขณะเดียวกัน การมีอำนาจของกลุ่มพราหมณ์ในสมัยพุทธกาล เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเผยแผ่พระศาสนา ความเชื่อมั่นและความรู้ของพราหมณ์นั้นเป็นเสมือนดาบสองคม มีศักยภาพทั้งให้คุณและโทษต่อประชาชน โดยเฉพาะในกรณีของโสณทัณฑพราหมณ์ที่เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ในขณะนั้น

หัวข้อประเด็น

-วิฑูฑภะ
-เจ้าศากยะ
-ความถือดี
-พราหมณ์
-บทบาทในสมัยพุทธกาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เห็นแล้วพอพระทัย จึงอภิเษกไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี ไม่นานจากนั้น นางประสูติพระโอรส ผู้มีผิวพรรณประดุจทองคำ มีนามว่า วิฑูฑภะ เมื่อวิฑูฑภะกุมารอายุได้ 16 ชันษา ได้ขอพระมารดาและกราบทูลพระราชบิดา เพื่อไปเยี่ยมพระ ญาติที่เมืองกบิลพัสดุ์เมื่อไปถึงแล้ว แม้เจ้าศากยะทั้งหลายจะไม่เต็มใจเพราะรังเกียจในชาติกำเนิดของวิฑูฑภะ แต่ก็ทำเป็นว่าให้การต้อนรับอย่างดี วิฑูฑภะประทับที่นี่ 2-3 วัน จึงเสด็จกลับแคว้นโกศล เมื่อกลับแล้ว นางทาสีจึงนำน้ำเจือน้ำนมมาล้างแผ่นกระดานที่วิฑูฑภะนั่ง แล้วแช่งด่าด้วยรังเกียจ ว่าเป็นลูกนางทาสี แต่บังเอิญมหาดเล็กคนหนึ่งของวิฑูฑภะลืมอาวุธไว้ ขณะกลับมาเอา ได้ยินเสียงแช่ง ด่าวิฑูฑภะ จึงได้สอบถาม เมื่อรู้แล้วก็นำไปเล่าต่อ ข่าวจึงแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว วิฑูฑภะพอทราบว่าตนเอง ถูกรังเกียจจากเจ้าศากยะ จึงโกรธและผูกอาฆาตไว้ว่า “หากตนเองได้ครองราชย์สมบัติเมื่อไรจักฆ่าเอาเลือดใน ลําคอของเจ้าศากยะมาล้างแผ่นกระดานที่ตนนั่ง” ด้วยความแค้นนี้ เมื่อวิฑูฑภะได้ครองราชย์ จึงยกทัพกลับไปฆ่าเจ้าศากยะทั้งหมดตามที่อาฆาตไว้ ภัยใหญ่จึงเกิดแก่เจ้าศากยะทั้งปวง จากเรื่องนี้จะเห็นถึงมานะทิฏฐิและความถือดีของกษัตริย์ผู้มีอำนาจ แค่เพียงเพราะความมีมานะไป ดูถูกวิฑูฑภะเท่านั้น จึงนำโทษภัยคือความตายมาสู่ศากยวงศ์ 2) ความถือดีของกลุ่มพราหมณ์ พราหมณ์ถือเป็นผู้มีความรู้ จึงอาศัยความรู้นั้นมาเป็นผู้นำทางความคิด ซึ่งจะมีอิทธิพลชี้นำต่อ ความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นตามไปด้วย อย่างเช่นในปัจจุบัน ครูบาอาจารย์ในสถาบันการศึกษา หรือแม้กระทั่ง สื่อมวลชน ก็มีผลต่อความคิดของประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะในสมัยพุทธกาล นอกจากพราหมณ์จะ เป็นผู้นำทางความคิดแล้วบางครั้งยังมีบทบาทในฐานะของนักปกครองจึงเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีผลต่อการเผยแผ่ พระศาสนา ที่พระภิกษุจะต้องเอาใจใส่ และวางตัวกับบุคคลในกลุ่มนี้ให้เหมาะสม เพราะเป็นเสมือนดาบ 2 คม คือให้คุณให้โทษคล้ายกลุ่มของกษัตริย์เช่นกัน ซึ่งความเป็นผู้ถือดีนั้น มีตัวอย่างเรื่องราวของ “โสณทัณฑพราหมณ์” ดังนี้ เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ 500 รูป เสด็จถึงนครจัมปา ประทับอยู่ใกล้ขอบสระโบกขรณีคัคคราในนครจัมปานั้น ครั้งนั้นโสณทัณฑพราหมณ์เป็นครูของเหล่า กษัตริย์และพราหมณ์ทั้งหลาย มีอำนาจปกครองในหัวเมืองหรือหมู่บ้านที่พระราชายกให้ พราหมณ์เกิด ความเลื่อมใส จึงเข้าไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่ามกลางหมู่พราหมณ์และคฤหบดีชาวนครจัมปา 'โสณทัณฑสูตร, ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 12 หน้า 17 176 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More