ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพียงไร
สําหรับฆราวาส
สามารถประเมินด้วยหลักการเดียวกับพระภิกษุเช่นกัน คือ
1. มีความกระตือรือร้นในการเข้าวัดฟังธรรมแค่ไหน ขวนขวายหาหนังสือธรรมะมาอ่านมากน้อย
2. ได้ข้อคิดจากการศึกษาธรรมะที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด
3. เห็นข้อบกพร่องของตนเอง ทั้งในด้านของนิสัย หรือเรื่องอื่นๆ ที่ต้องเร่งแก้ไขหรือไม่
4. ได้พยายามฝึกหัดขัดเกลาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองไปได้มากน้อยเพียงไร และทำได้อย่าง
ที่ตั้งใจไว้หรือไม่ เป็นต้น
5.6.4 ประเมินด้วย “จาคะ”
การประเมินด้วยจาคะหรือการสละ ทั้งในส่วนของพระภิกษุและฆราวาส สามารถประเมินโดยอาศัย
แนวทาง 4 ประการนี้ คือ
1. ประเมินจากการ “สละสิ่งของ” โดยพิจารณาว่า เราเป็นผู้รักการให้หรือไม่ ให้แล้วยังมีความ
ตระหนี่ หวงแหน รู้สึกเสียดายในภายหลังหรือไม่ เป็นต้น
2. ประเมินจากการ “สละความสะดวกสบาย” โดยพิจารณาว่าเราเป็นคนประเภทติดสบายหรือ
ไม่ หรือชอบเกี่ยงงอน งานหนักไม่เอางานเบาไม่สู้ ซึ่งเป็นเหตุให้กลายเป็นคนเกียจคร้านในการทำความดี
เป็นต้น
3. ประเมินจากการ “สละอารมณ์” คือสละความชอบใจ ไม่ชอบใจ ความยินดียินร้าย โดยพิจารณา
ว่า เราสามารถสละเรื่องเหล่านี้ได้ดีเพียงใด รวดเร็วเพียงไหน
4. ในทางธรรมปฏิบัติ ให้ประเมินจากการ “สละนิวรณ์ 5” โดยพิจารณาการที่ใจหยุดนิ่ง เข้าถึง
ดวงสว่างภายในกลางกาย ที่เรียกว่า “ปฐมมรรค”
5.6.5 ประเมินด้วย “ปัญญา”
การประเมินด้วยปัญญา หรือความรอบรู้ ความรู้เท่าทันในสังขาร ทั้งพระภิกษุและฆราวาส สามารถ
ประเมินโดยอาศัยแนวทางใน 2 ระดับ ได้แก่
ภาวนาวิริยคุณ,พระ (เผด็จ ทตตชีโว), พระแท้, (กรุงเทพฯ : มูลนิธิธรรมกาย), หน้า 197
108 DOU แ ม่ บ ท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา