ความสำคัญของปัจจัย 4 ในชีวิตของพระภิกษุ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 145
หน้าที่ 145 / 252

สรุปเนื้อหา

การรับปัจจัย 4 ของพระภิกษุมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการบำเพ็ญสมณกิจ ซึ่งต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความต้องการของผู้ให้และจำนวนปัจจัยที่มี หากผู้ให้มีมาก แต่ต้องการถวายเพียงเล็กน้อย พระภิกษุควรรับตามสมควร และหากผู้ให้มีน้อยแต่ต้องการถวายมาก ส่วนพระภิกษุต้องพิจารณาตนเองเพื่อให้เหมาะสม การรับปัจจัย 4 อย่างพอประมาณจะช่วยให้พระภิกษุสามารถพัฒนาศีลธรรมและก้าวหน้าในธรรมะได้ ทั้งนี้มีตัวอย่างจากพระไตรปิฎกที่ช่วยให้เข้าใจเรื่องนี้ให้ดีขึ้น เช่น เรื่องพระเจ้าอุเทนถวายจีวรแก่พระอานนท์และภิกษุณีกุลลนันทารับกระเทียมไม่รู้จักประมาณ.

หัวข้อประเด็น

- ความจำเป็นกับความต้องการ
- การพิจารณาปัจจัย 4
- ตัวอย่างจากพระไตรปิฎก
- ผลกระทบของการรับปัจจัย 4
- การบำเพ็ญสมณกิจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ต่อการดำรงชีวิต หรือกระทบต่อการทำกิจวัตรกิจกรรมที่สำคัญของตน 1.2 ความต้องการ (Want) หมายถึงไม่ได้อยู่ในภาวะที่ขาดแคลนมากเกินไป หากไม่ได้ปัจจัย 4 นั้นมาก็ไม่ถึงกับเดือดร้อนมากเกินไป แต่ถ้าได้ ก็จะเกื้อกูลให้ใช้ชีวิตได้ดียิ่งขึ้น 1.3 ความอยากได้ (Greedy) หมายถึงไม่เดือดร้อนอะไร หากไม่ได้ปัจจัย 4 นั้นมา แต่เป็นเพราะ ว่าโลภอยากได้ ด้วยอำนาจกิเลสภายในของตน หากพิจารณาแล้วพบว่าเป็น “ความจำเป็น” หรือเป็น “ความต้องการ” ก็ให้พิจารณารับตามสมควร แต่หากเป็นเพราะ “ความอยากได้” พระภิกษุต้องรีบหักห้ามใจ และไม่ควรรับปัจจัย 4 นั้นเลย 2. พิจารณาโดยอาศัยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ (1) ไทยธรรม หรือปัจจัย 4 ของผู้ให้ (2) จิต เจตนา หรือความต้องการของผู้ให้ (3) กำลังตามความจำเป็น หรือความต้องการของพระภิกษุ โดยอาศัย หลักว่า 2.1 หากผู้ให้มีปัจจัย 4 มาก แต่ต้องการถวายเพียงเล็กน้อย ก็ให้พระภิกษุรับไว้แต่น้อย ตาม ความต้องการของผู้ให้ 2.2 หากผู้ให้มีปัจจัย 4 น้อย แต่ต้องการถวายมาก ก็ให้พระภิกษุรับไว้แต่น้อย ตามปริมาณ ของปัจจัย 4 ที่มี 2.3 หากผู้ให้มีปัจจัย 4 มาก และต้องการถวายมากด้วย พระภิกษุก็ควรรับแต่พอประมาณ ตาม ความจําเป็นของตนเอง ด้วยหลักการที่กล่าวมา ย่อมจะทำให้การรับปัจจัย 4 ของพระภิกษุมีความพอเหมาะพอดี ซึ่ง นอกจากจะทำให้ท่านเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของสาธุชนแล้ว ปัจจัย 4 ที่รับมานี้ ยังจะเกื้อกูลต่อการ ใช้ชีวิต และการบำเพ็ญสมณกิจ เพื่อขัดเกลา กาย วาจา ใจ และเพิ่มพูนคุณธรรมของท่านให้ก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปอีกด้วย 6.9 ตัวอย่างการประมาณในการรับ มีเรื่องตัวอย่างของการรับปัจจัย 4 จากพระไตรปิฎกที่น่าสนใจ ที่จะช่วยทำให้เข้าใจถึงการรับปัจจัย 4 ได้ดีขึ้น 2 เรื่อง ดังนี้ 1. เรื่องพระเจ้าอุเทนถวายจีวรแก่พระอานนท์เพราะความเลื่อมใส 2. เรื่องภิกษุณีกุลลนันทารับกระเทียมไม่รู้จักประมาณ รถสูตร, อรรถกถา สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค, มก. เล่ม 28 หน้า 398 134 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More