ข้อความต้นฉบับในหน้า
4.1 การเป็นอัตถัญญู
บทที่ 4
ขั้นตอนที่ 2 อัตตัญญู
การที่พระภิกษุผู้เป็นธัมมัญญูจะฝึกฝนอบรมตนเองให้บรรลุเป้าหมายคือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง
ได้ สิ่งที่สำคัญประการต่อมา คือ การฝึกให้เป็น “อัตถัญญู” ซึ่งหมายถึงต้องมีความเข้าใจในสิ่งที่ได้ศึกษา
มาจากขั้นตอน “ธัมมัญญู” และทราบวิธีการที่จะนำมาฝึกฝนอบรมตนเองต่อไป เพราะหากเพียงแต่รู้ธรรม
จำได้ แต่ไม่เข้าใจความหมายตามนัยต่างๆ ได้ถูกต้องจนลึกซึ้งแตกฉานแล้ว ก็จะยากที่จะเห็นแนวทางหรือ
วิธีการปฏิบัติ เมื่อไม่เห็นแนวทางไม่เห็นวิธีการก็จะไม่เกิดแรงจูงใจที่จะนำธรรมะเหล่านั้นมาใช้ฝึกหัดขัดเกลา
อุปนิสัยตนเอง อันจะเป็นทางมาแห่งคุณธรรมภายใน ที่จะก้าวหน้าพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้
ดังนั้น เมื่อพระภิกษุเป็นธัมมัญญบุคคลได้แล้ว จึงต้องฝึกในขั้นตอนที่ 2 คือ “อัตถัญญู” ต่อไป
ตามวิธีการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ดังนี้
“ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความแห่ง
ภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ
หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ
เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู
แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ
ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญูด้วย
ประการฉะนี้”
4.2 คำแปลและความหมาย
“อัตถัญญู” แปลว่า ผู้รู้อรรถ รู้เนื้อความ รู้เนื้อความแห่งธรรมข้อหนึ่งๆ ว่าหมายความว่าอย่าง
นั้นๆ พิจารณาเนื้อความของธรรมจนได้ความรู้ความเข้าใจ ฟังมาก ทรงจำ ไว้ สั่งสมด้วยปากคือท่อง เพ่ง
ด้วยมานะ ขบหรือเจาะด้วยทิฏฐิคือความเห็น เมื่อได้เช่นนี้ ความเป็นผู้รู้เนื้อความ จะเกิดขึ้นในบุคคล ต่อ
72 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา