การฝึกสมาธิภาวนาและการหลีกเร้นในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 165
หน้าที่ 165 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการฝึกสมาธิภาวนาและการหลีกเร้นซึ่งเป็นวิธีการสำคัญในการพัฒนาจิตใจของพระภิกษุ โดยการฝึกสมาธิจะช่วยให้เกิดความละเอียดรอบคอบและคุณธรรมที่ดี และสามารถลดละกิเลสต่างๆ ได้ ผ่านวิธีการตั้งใจในการทำความเพียร การหลีกออกเพื่อค้นหาความสงบ โดยยกย่องความสำคัญของการมีสถานที่เงียบสงบในการปฏิบัติธรรม และทำความเข้าใจในแนวทางในการพัฒนาจิตใจให้ก้าวหน้าต่อไป นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบระหว่างการประกอบความเพียรและการหลีกออกเร้นเพื่อลงลึกในกระบวนการฝึกจิตให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเจริญพุทธธรรมอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิภาวนา
-การหลีกเร้น
-คุณธรรมในพระพุทธศาสนา
-ความสำคัญของการทำความเพียร
-การลดละกิเลสในจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. ฝึกผ่านปัจจัย 4 ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์การฝึกที่ช่วยสร้างนิสัยดีๆ ให้เกิดขึ้น นิสัยเหล่านี้ จะเป็น เครื่องสนับสนุนให้พระภิกษุได้ฝึกฝนตนเอง จนมีคุณธรรมก้าวหน้าได้ดียิ่งๆ ขึ้นไป จากการฝึกเหล่านั้น นอกจากจะทำให้พระภิกษุเป็นผู้มีความละเอียดรอบคอบ มีศีลาจารวัตรอัน งดงาม เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธาแล้ว ก็ยังเป็นเครื่องฝึกสติสัมปชัญญะ ใจไม่ไปเกาะอยู่กับสิ่งต่างๆ นอกตัว ซึ่งการฝึกทุกอย่างที่ผ่านมานั้น ท้ายที่สุดแล้วก็ทำให้ใจของท่านกลับเข้ามาตั้งมั่นอยู่ภายในตัว ดังนั้นในการทำความเพียรตามหมวดธรรมกาลัญญนี้ จึงมุ่งไปที่ “การเจริญสมาธิภาวนา” เพื่อกลั่นใจให้ใส สะอาด หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง การทำความเพียร จึงเป็นการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อขัดเกลากาย วาจา และใจ โดยอาศัย พื้นฐานความเข้าใจจากการเป็น “อัตถัญญู” มาใช้ 4) การหลีกออกเร้น หมายถึง 1. การหลีกออกไปหาสถานที่อันเหมาะแก่การเจริญสมาธิภาวนา เพื่อหาความสงบสงัด ที่เรียก ว่า “กายวิเวก” ซึ่งหมายถึงการปลีกตัวเองออกไปจากหมู่คณะ เพื่อแสวงหาที่อันเงียบสงบ ละเว้นจากการ คลุกคลี เช่นเดียวกับพระธุดงค์ที่เดินทางไปตามที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความสงัดกาย เป็นต้น 2. การหลีกออกจากกิเลสทั้งปวง เช่น ราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้หลีกเร้นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละความถือตัวว่าเป็นเราแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วนให้ถึงความไม่มีในภายหลังมีความไม่เกิดขึ้นต่อ ไปเป็นธรรมดา” ในที่นี้ การหลีกออกเร้นมีความมุ่งหมาย 2 นัยด้วยกัน คือ 1. หลีกออกเร้นเพื่อเจริญสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่อง 2. หลีกออกเร้นเพื่อทบทวนพิจารณาคุณธรรมความก้าวหน้าของตนเอง ความต่างระหว่าง “การประกอบความเพียร” และ “การหลีกออกเร้น” ก็คือ การประกอบความ เพียร หมายเอาการเจริญสมาธิภาวนาที่พระภิกษุได้ฝึกปฏิบัติเป็นปกติในชีวิตประจำวันของท่านอยู่แล้ว ส่วนการหลีกออกเร้น จะหมายเอาการเจริญสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องในการฝึกใจ ซึ่งจะช่วยให้ใจหยุดนิ่ง ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น ว่าด้วยวิเวก 3 อย่าง, อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 ข้อ 702 หน้า 280 ปุราเภทสุตตนิทเทส, ขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 66 ข้อ 396 หน้า 20 154 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More