ข้อความต้นฉบับในหน้า
คิดหวงแหน ไม่อยากให้ใครมาแย่งชิงเอาไป เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมสลายหรือถูกคนอื่นลักไป ก็ขัดเคือง ไม่พอใจ
พยาบาทก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน ใจที่พยาบาท มุ่งร้าย วนเวียนในอารมณ์โกรธเป็นประจำนี่เอง ทำให้เหนื่อยล้า
ไม่แช่มชื่น สดใส ทำให้โอกาสที่ (3) “ถีนมิทธะ” คือ ความหดหู่ ซึมเซา ขาดกำลังใจเกิดขึ้นได้ง่าย เมื่อขาด
กำลังใจ ขาดความหวังในชีวิต ใจย่อมเลื่อนลอย เกิด (4) “อุทธัจจกุกกุจจะ” ความคิดฟุ้งซ่าน ตามมา เมื่อ
คิดฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งใจไปในเรื่องราวทั้งหลาย ย่อมมีโอกาสเกิดความลังเลไม่แน่ใจ สงสัยในเรื่องราวความจริง
ของชีวิต กลายเป็น (5) “วิจิกิจฉา” ความลังเลสงสัย ที่จะคอยขวางกั้นคุณธรรมความดีไม่ให้เกิดขึ้น เพราะ
ความไม่เชื่อมั่น ความลังเลสงสัย บาปอกุศลทั้งหลายจึงได้โอกาสครอบครองใจให้ตกต่ำไปตามอำนาจของ
อกุศลธรรม บังคับใจให้คิด พูด ทำในสิ่งที่ไม่ดี ใจจึงไม่มีวันหยุดนิ่ง เป็นสมาธิได้เลย
การฝึกฝนตัวเองของพระภิกษุตามอย่างขั้นตอนของคุณกโมคคัลลานสูตร จึงเป็นการป้องกัน
และกำจัดนิวรณ์ทั้ง 5 ประการได้เป็นอย่างดี จนสามารถควบคุมใจ รวมใจให้หยุดนิ่ง เป็นสมาธิได้ จนได้
รับผลของการปฏิบัติไปตามกำลังของตน ตั้งแต่การเข้าถึงปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน จนถึงการ
บรรลุอรหัตผล หมดกิเลสอาสวะ ทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในคณกโมคคัล
ลานสูตรต่อไปว่า
“เธอครั้นละนิวรณ์ 5 อย่าง อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง
ทำปัญญาให้ถอยกำลังนี้ได้แล้ว จึงสงัดจากกาม สงัดจากอกุศล
ธรรมเข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
เข้าทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจารไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่
สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่ และ
เสวยสุขด้วยนามกาย
เข้าตติยฌานที่พระอริยะเรียกเธอได้ว่า ผู้วางเฉย มีสติอยู่เป็นสุขอยู่
เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับ
โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”
การปฏิบัติตัวตามขั้นตอนของคุณกโมคคัลลานสูตรนี้ จึงเป็น “ขั้นตอนการฝึก” ตัวเองที่จะช่วย
ประคับประคองใจให้หยุดนิ่ง เป็นสมาธิ เกิดปัญญา ที่จะใช้กำจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น บรรลุพระนิพพาน
ที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของการออกบวช
48 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา