ประวัติการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 78
หน้าที่ 78 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการศึกษาพระธรรมต่างๆ ที่สามารถสร้างบารมีและเข้าใจในความจริงของชีวิต เช่น สัมมาทิฏฐิและกฎแห่งกรรม นอกจากนี้ยังแนะนำวิธีการศึกษาธรรมะในยุคปัจจุบัน ที่มีทั้งการอ่านและการฟังทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น รวมถึงการแสวงหาครูดีและการฟังธรรด้วยความตั้งใจเพื่อเข้าใจและนำมาประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-สร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-สัมมาทิฏฐิและกฎแห่งกรรม
-วิธีการศึกษาธรรมะในยุคปัจจุบัน
-ปัญญาวุฑฒิธรรม 4 ประการ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. “ประวัติการสร้างบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เพราะจะทำให้เห็นวิธีการที่พระองค์ ทรงใช้สร้างบุญบารมี เมื่อได้ศึกษาแล้วย่อมก่อให้เกิดกำลังใจ รวมทั้งจะได้อาศัยพระองค์เป็นต้นแบบ ในการดำเนินชีวิต 3. “สัมมาทิฏฐิ” เพื่อเป็นการตอกย้ำความเข้าใจในความจริงของโลกและชีวิต จะทำให้ไม่ประมาท เพราะทราบว่าเราเกิดมาเพื่อสร้างบุญบารมี เพื่อความสุขทั้งในโลกนี้ โลกหน้า ไปจนกว่าจะหมดกิเลส เข้า สู่พระนิพพาน 4. “กฎแห่งกรรม” จะทำให้เราเกิดหิริ โอตตัปปะ คือ ความละอายและเกรงกลัวต่อบาปกรรม ซึ่งจะทำให้อยากทำแต่ความดี เพราะรู้ว่าการประกอบเหตุที่ดี ก็ย่อมได้รับผลตอบแทนที่ดีเช่นกัน เช่น รู้ว่าการ ทำทานทำให้เรามีโภคทรัพย์สมบัติมาก การรักษาศีลทำให้มีร่างกายแข็งแรง อายุยืนยาว การเจริญสมาธิ ภาวนาจะทำให้เรามีปัญญามาก เป็นต้น สำหรับธรรมะสำคัญอื่นๆ ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมในโอกาสอันควรต่อไป 3.8.3 วิธีการศึกษาธรรมะ วิธีการศึกษาธรรมะในยุคปัจจุบันสามารถทำได้สะดวกมากขึ้นเพราะนอกจากจะอ่านจากคัมภีร์พระ ไตรปิฎกอย่างพระภิกษุแล้วปัจจุบันยังมีการผลิตสื่อธรรมะในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของคนทุก เพศทุกวัย ทั้งหนังสือธรรมะที่มีรูปเล่มสวยงามน่าอ่าน มีเนื้อหาที่หลากหลาย สามารถเลือกอ่านได้ตาม ความสนใจ หรือจะใช้ช่วงเวลาว่างศึกษาธรรมะจากการฟังเทป ฟังจากแผ่น CD หรือ MP3 ก็ได้ หากต้องการ ชมภาพและเสียงก็มีสื่อธรรมะที่ผลิตออกมาเป็นวิดีทัศน์ หรือ VCD สื่อต่างๆ เหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตาม ร้านหนังสือ หรือสถานที่ปฏิบัติธรรมหลายแห่ง มาใช้ โดย นอกจากการศึกษาด้วยวิธีการดังกล่าวข้างต้นแล้วก็ควรนำหลักของปัญญาวุฑฒิธรรม 4 ประการ 1. ต้องแสวงหาครูดี คือ ควรหาโอกาสเข้าวัดปฏิบัติธรรม และฟังธรรมจากพระภิกษุผู้ประพฤติ ธรรมให้สม่ำเสมอ หรืออาจเข้าเรียนในหลักสูตรเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่นหลักสูตรธรรมศึกษา เป็นต้น 2. ต้องหมั่นฟังธรรม คือ ใส่ใจและฟังธรรมโดยเคารพ ขณะฟังธรรมก็ทำใจให้เป็นสมาธิ ทำใจให้ เลื่อมใสศรัทธาต่อผู้แสดงธรรมและต่อธรรมนั้น จดจำธรรมนั้นให้ขึ้นใจ มีข้อสงสัยใดก็ควรซักถามให้เข้าใจ ถ่องแท้ จะได้นำมาปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 3. ต้องหมั่นพิจารณาไตร่ตรองธรรม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง 4. ต้องปฏิบัติธรรมตามที่รู้มา โดยเฉพาะการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ต้องหมั่น ปฏิบัติไม่ให้ขาดเลยสักวันเดียว บทที่ 3 ขั้ น ต อ น ที่ 1 ธั ม มั ญ ญ DOU 67
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More