วิธีการประเมินคุณธรรมสำหรับฆราวาส SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 224
หน้าที่ 224 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ธรรมทั้ง 6 ประการในการประเมินคุณธรรมของฆราวาส โดยเน้นไปที่ศีลและการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง รวมถึงการจัดสรรเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการรู้จักบุคคลต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเอง นอกจากนี้ยังมีแนวทางฝึกฝนการเป็นกัลยาณมิตรและการพัฒนาคุณธรรมในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

-คุณธรรมฆราวาส
-ศีลและการดำเนินชีวิต
-มัตตัญญูและการใช้ชีวิตพอเพียง
-กาลัญญูในการจัดสรรเวลา
-การเป็นกัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สำหรับฆราวาส ก็อาศัยธรรมทั้ง 6 ประการมาใช้ในการประเมินคุณธรรมของตนเช่นกัน หากแต่ ขอบเขตในธรรมที่ใช้ประเมินนั้น จะแตกต่างกันบ้างเพราะความแตกต่างของวิถีชีวิต เช่น การประเมินเรื่องศีล ของพระภิกษุก็จะมุ่งเน้นไปในศีลทั้ง 227 ข้อ และปาริสุทธิศีล 4 ในขณะที่ฆราวาสจะมุ่งเน้นในศีล 5 หรือ ศีล 8 รวมถึงการประกอบอาชีพอันบริสุทธิ์ เป็นต้น มัตตัญญู ในวิถีชีวิตประจำวัน ปัจจัย 4 ล้วนมีความจำเป็นต่อการดำรงชีพให้อยู่ได้อย่างเป็นปกติสุข เพราะ เป็นอุปกรณ์สำคัญที่พระภิกษุใช้ฝึกเพื่อสร้างนิสัย ดังนั้นจึงต้องรู้จักควบคุมปัจจัย 4 ที่เข้ามาสู่วิถีชีวิตของ ตนเองให้ได้ จึงจะเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ส่วนฆราวาส การฝึกจะเน้นไปที่การดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ เหมาะสมกับฐานะของ ตน โดยต้องพิจารณาตั้งแต่การซื้อหา การนำมาใช้ การดูแลรักษา โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ สิ่งเหล่านี้ต้อง ไม่เป็นอุปสรรคในการพัฒนา ฝึกฝนคุณธรรมตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น การไม่เลือกดื่มไวน์ แม้เหตุเพื่อความ แข็งแรงของสุขภาพกาย เพราะผิดต่อศีลธรรมอันดีงาม เป็นต้น กาลัญญู เพราะเวลาเป็นสิ่งมีคุณค่าพระภิกษุจึงต้องฝึกบริหารเวลาเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองมากที่สุด โดยต้องจัดสรรเวลา เพื่อใช้ในงานที่สำคัญของชีวิตทั้ง 4 ประการ คือ การเรียนพระธรรมวินัย การสอบถาม การนั่งสมาธิ และหลีกออกเร้น จึงจะเรียกว่าเป็นกาลัญญู สำหรับฆราวาส การรู้จักจัดสรรเวลาย่อมเป็นสิ่งสำคัญไม่ต่างจากพระภิกษุนักหากแต่ว่าการใช้เวลา ของฆราวาสนั้น ส่วนใหญ่มักสูญเสียไปกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ การดูแลเอาใจใส่ในครอบครัวของตน แต่ ถึงอย่างไรก็ตาม ก็สามารถฝึกฝนตัวเองเพื่อเป็นกาลัญญูได้ เบื้องต้น คือ การจัดสรรเวลาในระหว่างวัน เพื่อการ ทำสมาธิภาวนา เพื่อการศึกษาธรรมะ หรืออย่างน้อยๆ ก็ควรมาวัดเป็นประจำทุกวันอาทิตย์ เพื่อจะได้มีโอกาส ได้รับคำแนะนำในธรรมะอื่นๆ รวมถึงเพื่อสั่งสมบุญกุศลให้ยิ่งขึ้นไป นอกจากนี้การหาเวลามาเพื่อปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรมะให้มากขึ้น เช่น การลาพักร้อน มาปฏิบัติธรรมต่อเนื่องระยะยาว เช่น 7 วัน 10 วัน ก็จะได้ ชื่อว่า ได้ฝึกหัดให้เกิดเป็นกาลัญญูขึ้นมาได้ ปริสัญญ นอกจากธัมมัญญสูตรจะให้วิธีการฝึกฝนพัฒนาตนเองแก่พระภิกษุอย่างดีแล้วก็ยังให้วิธีการทำหน้าที่ กัลยาณมิตรที่ดีให้แก่ชาวโลกอีก 2 ประการด้วย คือ ปริสัญญ การรู้จักบริษัท และบุคคลปโรปรัญญู การ รู้จักบุคคล บทที่ 9 ขั้ น ต อ น ที่ 7 บุคคล ปโร ปรัญญู DOU 213
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More