ความสำคัญของอัตถัญญูในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 85
หน้าที่ 85 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของอัตถัญญูและการศึกษาในพระพุทธศาสนา โดยเสนอว่า การฝึกปฏิบัติใต้การดูแลของครูบาอาจารย์จะทำให้เกิดความเข้มข้นในอัตถัญญู รวมถึงการเน้นให้เห็นถึงนัยความหมายลึกซึ้งของพระธรรมและการเข้าใจธรรมะอย่างถูกต้อง ภายหลังจากตรัสรู้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือนว่า ความเข้าใจในธรรมะนั้นอาจต้องพึ่งพาปัญญาของพระองค์ จึงมีความสำคัญในการศึกษาธรรมะอย่างไม่ประมาท เพราะธรรมะอาจดูง่าย แต่มีความลึกซึ้งที่นักศึกษาอาจยังไม่เข้าใจเมื่อมองจากมุมมองอื่น ๆ ท้ายที่สุดยังได้ยกตัวอย่างคำในพระไตรปิฎก ที่มีความหมายต่างกันตามบริบท

หัวข้อประเด็น

-อัตถัญญู
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-นัยของพุทธภาษิต
-การเข้าใจธรรมะ
-ความสำคัญของการฝึกปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศึกษาไป ฝึกปฏิบัติไป ภายใต้การดูแลของครูบาอาจารย์ ด้วยวิธีเช่นนี้ การเป็นธัมมัญญู อัตถัญญูก็จะมี ความสมบูรณ์เข้มข้นมากขึ้นไปตามลำดับ 4.4 ความสำคัญของอัตถัญญู 4.4.1 นัยของพุทธภาษิตสำคัญอย่างไร ภายหลังจากตรัสรู้ได้ไม่นาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปรารภถึงธรรมที่ได้ตรัสรู้มานั้นว่า “บัดนี้ เรายังไม่ควรจะประกาศธรรมที่เราได้บรรลุแล้วโดยยาก เพราะ ธรรมนี้อันสัตว์ผู้อันราคะและโทสะครอบงำแล้ว ไม่ตรัสรู้ได้ง่าย สัตว์ผู้อัน ราคะย้อมแล้ว ถูกกองอวิชชาหุ้มห่อแล้ว จักไม่เห็นธรรมอันละเอียดลึกซึ้ง ยากที่จะเห็น ละเอียดยิ่ง อันจะยังสัตว์ให้ถึงธรรมที่ทวนกระแส คือ พระ นิพพาน”1 จากพุทธพจน์ดังกล่าว ทำให้เห็นถึงธรรมชาติของพระธรรมว่า มีความละเอียดลุ่มลึก เกินกว่าที่ สรรพสัตว์ทั้งหลายจะรู้แจ้งแทงตลอดได้ด้วยตนเอง อุปมาเหมือนมหาสมุทรที่ลึกและกว้างใหญ่ เกินกว่าที่ สัตว์เล็กๆ เช่นหนูหรือกระต่ายจะหยั่งเท้าลงไปถึง แต่เพราะอาศัยพระปัญญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงแยกแยะธรรมะมาเทศนา ให้เข้าใจตามได้ง่าย จนบางครั้งขณะที่ศึกษาธรรมะไป อาจรู้สึกเหมือนธรรมะไม่ได้ยากอะไรเลย หากรู้สึก อย่างนั้น ขอให้ระลึกเสมอว่านั่นเป็นเพียงความรู้สึกส่วนตัวของเราเอง จะได้ไม่ประมาทพลาดพลั้ง เพราะ บางทีในความง่ายนั้นอาจแฝงไว้ด้วยความลึกซึ้งที่เรายังไม่เข้าใจอย่างเช่น พระอานนท์ได้กล่าวว่า ปฏิจจสมุป บาทธรรมเข้าใจง่าย ซึ่งพระพุทธองค์ทรงเตือนไม่ให้ท่านกล่าวเช่นนั้น ตามธรรมดา ธรรมะที่พระองค์ตรัสไว้อาจมีนัยหรือความหมายที่แตกต่างกันได้ ขึ้นกับบริบท หรือ ความประสงค์ของพระองค์ที่แตกต่างกันไปตามแต่เหตุการณ์ หรือบุคคลที่พระองค์ตรัสด้วย ดังตัวอย่างคำใน พระไตรปิฎกบางคำ ที่มีนัยแตกต่างกันไป เช่น คำว่า “หยุด” ที่ทรงกล่าวกับองคุลิมาล ก็มีความหมายที่ ลุ่มลึกถึง 3 ระดับด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดของเรื่องดังต่อไปนี้ อนัจฉริยคาถา, พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาคที่ 1, มก. เล่ม 6 หน้า 30 นิทานสูตร, สังยุตตนิกาย นิทานวรรค, มก. เล่ม 26 ข้อ 224-229 หน้า 270-272 74 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More