ข้อความต้นฉบับในหน้า
คำว่า “บิณฑบาต” หมายถึง อาหาร
คำว่า “เสนาสนะ” มาจากคำ 2 คำ คือ เสนะ แปลว่า “ที่นอน และอาสนะ แปลว่า “ที่นั่ง” รวม
ความแล้วคือที่นอนที่นั่ง ซึ่งในที่นี้หมายถึง กุฏิ วิหาร และเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับสถานที่อยู่อาศัย เช่น โต๊ะ เก้าอี้
เป็นต้น
คำว่า “คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร” หมายถึง ปัจจัยสำหรับคนไข้ ซึ่งก็คือยารักษาโรค และอุปกรณ์
เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรค
ทั้ง 4 อย่างนี้ คือปัจจัย 4 ที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
ดังนั้น “มัตตัญญู” จึงหมายถึง ความเป็นผู้รู้จักพอดี พอควร และพอประมาณ ในการรับปัจจัย
4 และสิ่งที่เนื่องด้วยปัจจัย 4
สิ่งที่พระภิกษุควรศึกษาและฝึกปฏิบัติต่อไปให้ได้ คือการเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 ซึ่ง
จากพุทธพจน์จะมีประเด็นที่น่าสนใจ ที่จะได้ศึกษาในรายละเอียดต่อไป 2 ประเด็น คือ
1. ความสำคัญของปัจจัย 4 ที่มีต่อการฝึกอบรมของพระภิกษุ
2. ความสำคัญ และวิธีการ “รับ” ปัจจัย 4
ความสำคัญของปัจจัย 4 ที่มีต่อการฝึกอบรมของพระภิกษุ
6.2 ความสำคัญของปัจจัย 4 ที่มีต่อชีวิต
จากพุทธพจน์ในหัวข้อมัตตัญญูนี้ จะเห็นว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับปัจจัย 4
เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 2 ประการ คือ
1. ปัจจัย 4 เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้เป็นปกติสุข เช่น เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม
ช่วยทำให้ร่างกายเราอบอุ่นอาหารทำให้เรายังคงมีชีวิตอยู่ได้ที่อยู่อาศัยทำให้เรามีที่พักที่ปลอดภัยยารักษาโรค
ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง หากปราศจากปัจจัย 4 แล้ว ชีวิตเราคงไม่มีทางดำรงอยู่ได้ เช่น คนที่อยู่ใน
ประเทศแถบหนาว คงต้องหนาวตาย ถ้าไม่มีที่พักอาศัย หรือเครื่องนุ่งห่มที่ให้ความอบอุ่นเพียงพอ คนที่
ขาดอาหารก็คงอยู่ได้ไม่นานก็ต้องเสียชีวิต คนที่เจ็บป่วยไข้ ก็อาจถึงตายได้ถ้าไม่ได้ยาที่ดีพอ
2. ปัจจัย 4 ช่วยให้สามารถดำรงกิจกรรมในชีวิตได้เป็นปกติ ทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม
ต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยกัน ปัจจัย 4 จึงช่วยทำให้กิจกรรมในชีวิตของแต่ละคนสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี เช่น
เราต้องมีเสื้อผ้าที่เหมาะสมสำหรับใส่ไปทำงาน เราต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกาย
บทที่ 6 ขั้ น ต อ น ที่ 4 มัตตัญญู DOU 117