เภสัชบริขารในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 134
หน้าที่ 134 / 252

สรุปเนื้อหา

ในพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงบัญญัติการใช้ยา 5 ชนิด ได้แก่ เนยใส, เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง, และน้ำอ้อย เพื่อใช้ในการรักษาโรคและส่งเสริมคุณธรรมของภิกษุ การอนุญาตนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและประพฤติพรหมจรรย์ได้ดีขึ้น นอกจากจะเป็นการรักษาสุขภาพแล้ว ยังได้ผลดีต่อการพัฒนานิสัยของพระภิกษุด้วย โดยการใช้ยาไม่ได้มีการกำหนดปริมาณที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเจ็บไข้

หัวข้อประเด็น

-การใช้ยาของภิกษุ
-ความสำคัญของเภสัชในพระพุทธศาสนา
-พระวินัยและการพัฒนานิสัยของภิกษุ
-ปัจจัย 4 ในชีวิตประจำวันของภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ภิกษุไว้ดังนี้ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ยารักษาโรค) สําหรับยารักษาโรค พระองค์ทรงพิจารณาแล้วกำหนดชนิด หรือประเภทของยาที่เหมาะสมแก่พระ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความปริวิตก สืบต่อไปว่า เภสัช 5 นี้แล (คือ) เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นเภสัชอยู่ในตัว และ เขาสมมติว่าเป็นเภสัช ทั้งสำเร็จประโยชน์ในอาหารกิจแก่สัตวโลก และไม่ ปรากฏเป็นอาหารหยาบ ผิฉะนั้น เราจึงอนุญาตเภสัช 5 นี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ให้รับประเคนในกาลแล้วบริโภคในกาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้รับประเคนเภสัช 5 นั้นในกาล แล้ว บริโภคในกาล”3 สำหรับในเรื่องนี้ พระองค์ทรงพิจารณาถึงประเภทของยาที่เหมาะสม โดยอาศัยหลักเกณฑ์ว่า สิ่ง นั้นต้องมีสรรพคุณเป็นยาด้วย คนทั่วไปก็ถือว่าสิ่งนั้นเป็นยาอยู่แล้วด้วย และไม่ได้เป็นอาหารหยาบ เหมือน เช่นข้าวและกับข้าว ที่พระภิกษุบิณฑบาตมาฉัน ส่วนปริมาณการใช้ยา พระองค์ไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน เนื่องจาก การใช้ยังขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการเจ็บไข้ที่มากน้อยแตกต่างกันไปอีก 6.4 ปัจจัย 4 กับนิสัย จะเห็นว่า พระสัมมาพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับปัจจัย 4 อย่างมากมายในหลายด้าน ทั้งประเภท ปริมาณ และวัตถุประสงค์ในการใช้ โดยทรงพิจารณาด้วยความรัดกุม แยบคาย ก่อนจะทรงบัญญัติเป็น พระวินัย หรือมีพุทธานุญาตให้พระภิกษุได้ใช้ ทั้งนี้นอกจากจะเพื่อให้สามารถดำรงชีวิต และทำกิจกรรมต่างๆ ได้ยังเพื่อความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย อันจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การประพฤติพรหมจรรย์ และทำพระนิพพาน ให้แจ้งด้วย ที่ทรงกำหนดด้วยความรัดกุมอย่างนั้น กลับเป็นผลดีต่อการฝึกฝนอบรมตนเองของพระภิกษุ อย่างมาก เนื่องจากว่าปัจจัย 4 มีผลต่อการพัฒนานิสัย ที่จะเกื้อกูลให้คุณธรรมภายในของพระภิกษุเจริญ ขึ้นมา 'ปริวิตก หมายถึง ความคิดนึก หรือนึกห่วงใย ภายหลังทรงอนุญาตเพิ่มเติมให้บริโภคได้ทุกเวลา เภสัชชขันธกะ, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 7 ข้อ 25 หน้า 59 บทที่ 6 ขั้ น ต อ น ที่ 4 มัตตัญญู DOU 123
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More